การพัฒนาแนวทางการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี ในประชาชนทั่วไปในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • นภาพร พิมพ์สิงห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
  • รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
  • ศรัญญา งามนิมิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการคัดกรอง, ไวรัสตับอักเสบ ซี, การคัดกรอง, ประชาชนทั่วไป

บทคัดย่อ

ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของโรคพังผืดตับ ตับแข็งและมะเร็งตับ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการคัดกรองและศึกษาผลลัพธ์การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี  คือ ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 35-69 ปี จำนวน 325,189 คน ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 194 คน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ระยะ คือ (1) พินิจพิเคราะห์ (2) การคิดพิเคราะห์ (3) ปฏิบัติการและประเมินผล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและแบบบันทึกการคัดกรอง ระหว่างเดือนกันยายน 2563 ถึงธันวาคม 2565 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาและกระบวนการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี ในประชาชนทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีหน้าที่ประสานความร่วมมือ ติดตามผลการดำเนินงานและข้อมูลในภาพรวม เยี่ยมเสริมพลังให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข อบรมพัฒนาศักยภาพแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ 2) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีหน้าที่ประสานงานสนับสนุนการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลส่งคืนให้พื้นที่ และประสานการส่งต่อผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล 3) เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีหน้าที่เจาะเลือดปลายนิ้วมือ ให้บริการทั้งแบบเชิงรับในหน่วยบริการและแบบเชิงรุกในชุมชน รวมถึงประสานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนรวบรวมรายชื่อผู้ที่จะเข้ารับบริการคัดกรอง ผลจากการใช้แนวทางดังกล่าว พบว่าสามารถเพิ่มอาสาสมัครที่เข้ารับการคัดกรองจากร้อยละ 14.1 เป็นร้อยละ 54.2 รวม 176,271 ราย พบผลบวก 10,777 ราย (ร้อยละ 6.1) รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อ 4,293 ราย (ร้อยละ 39.8) ให้ผลบวก 3,361 ราย (ร้อยละ 78.4) แนวทางการคัดกรองนี้สามารถดำเนินการได้จริงในชุมชนและเข้าถึงประชาชนเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 50 ในระยะเวลา 2 ปี ช่วยลดเวลาที่ใช้ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ได้

References

World Health Organization. Combating hepatitis B and C to reach elimination by 2030 [Internet]. 2016 [cited 2022 May 13]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/combating-hepatitis-b-and-c-to-reach-elimination-by-2030

Chen S, Mao W, Guo L, Zhang J, Tang S. Combating hepatitis B and C by 2030: achievements, gaps, and options for actions in China. BMJ Glob Health 2020 Jun 30; 5(6):e002306.

Chen SL, Morgan TR. The Natural History of Hepatitis C Virus (HCV) Infection. Int J Med Sci 2006; 47-52.

Tangkijvanich P, Hirsch P, Theamboonlers A, Nuchprayoon I, Poovorawan Y. Association of hepatitis viruses with hepatocellular carcinoma in Thailand. J Gastroenterol 1999 Mar 1; 34(2):227-33.

Posuwan N, Vuthitanachot V, Chinchai T, Wasitthankasem R, Wanlapakorn N, Poovorawan Y. Serological evidence of hepatitis A, B, and C virus infection in older adults in Khon Kaen, Thailand and the estimated rates of chronic hepatitis B and C virus infection in Thais, 2017. Peer J [Internet]. 2019 [cited 2020 Apr 20]; 7:e7492. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6705384/

Wasitthankasem R, Posuwan N, Vichaiwattana P, Theamboonlers A, Klinfueng S, Vuthitanachot V, et al. Decreasing Hepatitis C Virus Infection in Thailand in the Past Decade: Evidence from the 2014 National Survey. PLoS ONE [Internet]. 2016 [cited 2020 Feb 9]; 11(2):e0149362. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4752320/

Wasitthankasem R, Vichaiwattana P, Siripon N, Posuwan N, Auphimai C, Klinfueng S, et al. Assessment of hepatitis C virus infection in two adjacent Thai provinces with drastically different seroprevalence. PLoS One [Internet]. 2017 [cited 2020 Feb 9]; 12(5):e0177022. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5419576/

นภาพร พิมพ์สิงห์, รุจิพัชร์ วิสิษฐ์ธัญเกษม,ขวัญดาว ตรีศูนย์, ยง ภู่วรวรรณ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก 2564; 8(3):28-40.

Wasitthankasem R, Vichaiwattana P, Siripon N, Posuwan N, Auphimai C, Thanethkongtong N, et al. Birth-cohort HCV screening target in Thailand to expand and optimize the national HCV screening for public health policy. PLoS One [Internet]. 2018 Aug 23 [cited 2020 Feb 9]; 13(8):e0202991. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30138441

Cramp ME, Rosenberg WM, Ryder SD, Blach S, Parkes J. Modelling the impact of improving screening and treatment of chronic hepatitis C virus infection on future hepatocellular carcinoma rates and liver-related mortality. BMC Gastroenterol 2014 Aug 7; 14:137.

Sroczynski G, Esteban E, Conrads-Frank A, Schwarzer R, Mühlberger N, Wright D, et al. Long-term effectiveness and cost-effectiveness of screening for hepatitis C virus infection. Eur J Public Health [Internet]. 2009 Jun [cited 2022 May 7]; 19(3):245-53. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19196737/

Morgan JR, Servidone M, Easterbrook P, Linas BP. Economic evaluation of HCV testing approaches in low and middle income countries. BMC Infect Dis 2017; 17(Suppl 1):697.

World Health Organization. Guidelines for the Screening, Care and Treatment of Person with Chronic Hepatitis C Infection. update version April 2016. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services; 2016.

Kim KA, Chung W, Choi HY, Ki M, Jang ES, Jeong SH. Cost-effectiveness and health-related outcomes of screening for hepatitis C in Korean population. Liver Int 2019 Jan; 39(1):60-9. doi:10.1111/liv.13930

Mane A, Sacks J, Sharma S, Singh H, Tejada-Strop A, Kamili S, et al. Evaluation of five rapid diagnostic tests for detection of antibodies to hepatitis C virus (HCV): A step scale-up of HCV screening efforts in India. PLoS One 2019 Jan 17; 14(1):e0210556.

Waked I, Esmat G, Elsharkawy A, El-Serafy M, Abdel-Razek W, Ghalab R, et al. Screening and Treatment Program to Eliminate Hepatitis C in Egypt. N Engl J Med 2020; 382(12):1166-74.

Stringer ET. Action Research. 3rd edition. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication, 2007.

ทวีวรรณ ศรีสุขคำ. การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พรินทิ้ง เฮาส์; 2565.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ เจ เอส การพิมพ์; 2563.

สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด; 2561.

Smith BD, Jewett A, Drobeniuc J, Kamili S. Rapid diagnostic HCV antibody assays. Antivir Ther 2012; 17(7 Pt B):1409-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25