การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2564-2565

ผู้แต่ง

  • สถาพร มณี โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ณัฐฐิญา กิตติ์ธนกาญจน์ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังโรค, โรคเมลิออยด์, การประเมิน

บทคัดย่อ

โรคเมลิออยด์ เป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตเกิดจากเชื้อ Burkholderia pseudomallei อาการที่ไม่จำเพาะทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ต้องใช้การเพาะเชื้อเป็นหลัก จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานของระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ คุณลักษณะเชิงปริมาณ คุณลักษณะเชิงคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางโดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565 ที่มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง หรือปอดอักเสบ หรือฝีในอวัยวะต่างๆ ร่วมกับมีผลเพาะเชื้อพบเชื้อ Burkholderia pseudomallei โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานโรค (รง.506) กับเวชระเบียนของผู้ป่วย และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา และผู้ปฏิบัติหน้างาน ผลการศึกษาพบว่า งานควบคุมโรคฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวังโรคจากโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพในอำเภอวารินชำราบและตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะรายงานต่อตามลำดับขั้น ระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์มีความไวของการรายงานร้อยละ 6.1 มีค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 95 คุณภาพของข้อมูล พบว่า มีความครบถ้วนและความถูกต้องของเพศ อายุ เชื้อชาติ ที่อยู่ ร้อยละ 100 ขณะที่ความถูกต้องของประเภทผู้ป่วย และผลการรักษา ร้อยละ 57.9 ความเป็นตัวแทนจากตัวแปรเพศ อายุ ใช้เป็นตัวแทนกันได้ ความทันเวลา พบว่า ทันเวลา ร้อยละ 15.8 ด้านความยอมรับ พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนให้ความสำคัญ ระบบมีความง่าย ความยืดหยุ่น พบว่า มีเจ้าหน้าที่ระบาดทำงานเพียงคนเดียว การใช้ประโยชน์ยังน้อยเนื่องจากขาดการเชื่อมโยงข้อมูล โดยสรุประบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ของโรงพยาบาลวารินชำราบ มีขั้นตอนการรายงานที่ชัดเจน มีความไวของการรายงานอยู่ในระดับควรปรับปรุง ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับดีมาก โดยมีสาเหตุจากการวินิจฉัยโรคต้องใช้ผลการเพาะเชื้อ และต้องใช้เวลาในการสรุปเวชระเบียน ทำให้การรายงานโรคต่ำกว่าความเป็นจริง ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาคือ ควรมีการเฝ้าระวังโรคโดยใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม การพัฒนาบุคลากรด้านระบาดวิทยา ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการเผ้าระวังโรค

References

Wiersinga WJ, Virk HS, Torres AG, Currie BJ, Peacock SJ, Dance DAB, et al. Melioidosis. Nat Rev Dis Primers 2018; 4:1-22.

Hantrakun V, Kongyu S, Klaytong P, Rongsumlee S, Day NPJ, Peacock SJ, et al. Clinical epidemiology of 7126 melioidosis patients in Thailand and the implications for a national notifiable diseases surveillance system. Open Forum Infect Dis. 2019; 6(12):1-10.

Hinjoy S, Hantrakun V, Kongyu S, Kaewrakmuk J, Wangrangsimakul T, Jitsuronk S, et al. Melioidosis in Thailand: Present and Future. Trop Med Infect Dis. 2018; 38(3):1-16.

Chantratita N, Phunpang R, Yarasai A, Dulsuk A, Yimthin T, Onofrey LA, et al. Characteristics and one-year outcomes of melioidosis patients in Northeastern Thailand: a prospective, multicenter cohort study. The Lancet Regional Health - Southeast Asia 2023; 9:1-12.

กองโรคติดต่อทั่วไป. คู่มือโรคเมลิออยด์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132, ตอนที่ 86 ก ฉบับพิเศษ (ลงวันที่ 8 กันยายน 2558).

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปสถานการณ์จากการเฝ้าระวังโรค 506 [อินเตอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=72

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: หจก.แคนนา กราฟฟิค; 2563.

เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, วันทนา กลางบุรัมย์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2559. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2562; 26(3):59-71.

อมรรัตน์ เทพากรณ์, ประกานต์ คนสูง. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิสของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562; 50(35):521-8.

อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์, จินตนา กาญจนบัตร. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2560; 48(46):721-7.

ฆาลิตา อานนท์, พรทวี แคล้วอ้อม, กรรณิกา สุวรรณา, คนิสสร นาคน้อย, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2559; 47:S61-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25