ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รติฏา ฤทธิรุ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • วานิช รุ่งราม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • วัชราภรณ์ ยุบลเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, ปัจจัย, ระยะเวลาการรักษาสำเร็จ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรักษาจนรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลทุติยภูมิของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโปรแกรม NTIP ในปี 2565 รวมทั้งสิ้น 1,092 ราย ประมาณค่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นรักษาจนรักษาสำเร็จด้วยวิธี Kaplan-Meier และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรักษาจนรักษาสำเร็จด้วย Cox proportional hazard model ผลการศึกษา พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ทำการศึกษา จำนวนทั้งหมด 1,092 ราย มีผลการรักษาสำเร็จ (รักษาครบและรักษาหาย) ร้อยละ 82.1 ผลการรักษาไม่สำเร็จ ร้อยละ 17.9 ค่ามัธยฐานระยะเวลาการรักษาสำเร็จภาพรวม 186 วัน (95%CI 184-187 วัน) จากการวิเคราะห์ระยะเวลาการรักษาสำเร็จในกลุ่มย่อยตามปัจจัย เพศ อายุ กลุ่มอายุ อำเภอภูมิลำเนา ผู้ต้องขัง ผลการตรวจเสมหะ (AFB) เมื่อได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก การมีโรคร่วม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, ภาวะตับอักเสบ, ความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธี Kaplan-Meier พบว่า อำเภอภูมิลำเนา ผู้ต้องขัง โรคความดันโลหิตสูง และมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อ HIV มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มรักษาสำเร็จและกลุ่มรักษาไม่สำเร็จ ผลการวิเคราะห์ Cox proportional hazard model พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นรักษาจนรักษาสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ อำเภอตามภูมิลำเนา กลุ่มอายุ และการติดเชื้อ HIV มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างกลุ่มที่รักษาสำเร็จและกลุ่มที่รักษาไม่สำเร็จ เมื่อเปรียบเทียบการรักษาสำเร็จในแต่ละอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีระยะเวลาการรักษาสำเร็จสั้นที่สุด คือ อำเภอเขาวง รองลงมา คือ อำเภอกุฉินารายณ์ ยางตลาด นามน สหัสขันธ์ และห้วยผึ้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีโอกาสรักษาสำเร็จเร็วกว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี 1.176 เท่า ส่วนผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยมีโอกาสรักษาสำเร็จมีโอกาสรักษาสำเร็จเร็วกว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ติดเชื้อ HIV 1.512 เท่า จึงมีข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาแนวทางการกำกับการกินยาต่อหน้า (DOT) อย่างมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือวัยทำงาน รวมทั้งการถอดบทเรียนการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอที่มีระยะเวลาการรักษาสำเร็จสั้น (เช่น อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์) เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในระดับอำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2022 [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan 2]. Available from: https://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/tb-reports

Glaziou P, Floyd K, Raviglione MC. Global Epidemiology of Tuberculosis. Semin Respir Crit Care Med 2018; 39(3):271-85.

ทัศนีย์ มนุญพานิชย์, ชนุพร กันยาสาย. แนวทางการช่วยเหลือทางด้านสังคม เศรษฐกิจสำหรับผู้ป่วยวัณโรค [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.พ. 2567]. 100 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/แนวทางการช่วยเหลือ%20ทางด้านสังคม%20เศรษฐกิจสาหรับผู้ป่วยวัณโรค.pdf

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

สมาน ฟูตระกูล, แพรพรรณ ภูริบัญชา, จิรา ศักดิ์ศศิธร, ธนาวิทย์ อุปพงษ์, สุพัตรา สิมมาทัน, กิตติพิชญ์ จันที และคณะ. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2566 รอบ 2 เขตสุขภาพที่ 7 ประเด็นตรวจราชการ Area based [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_report_executive/2023-08-21-08-12-26.pdf

Goel MK, Khanna P, Kishore J. Understanding survival analysis: Kaplan-Meier estimate. Int J Ayurveda Res 2010; 1(4):274-8.

ธนิศ เสริมแก้ว, กุกุมา สว่างพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(1):S85-93.

พชรพร ครองยุทธ์, เจษฎา สุราวรรณ์, สุภควดี ธนสีลังกูร, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(3):138-48.

ศักดา รุ่งอร่ามศิลป์. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลารักษาวัณโรคในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2018; 24(2):49-58.

อมรรัตน์ ชุตินันทกุล. รายงานวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการรักษาสำเร็จผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่คนไทยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ประเทศไทย. นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25