การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคติดต่อนำโดยยุงลายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหาร 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองประชาชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ได้ขนาดตัวอย่าง 400 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม และเชิงคุณภาพโดยการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก (M=3.92, SD=1.03) การเข้าถึงแหล่งข้อมูลของการรับรู้ ร้อยละ 100.0 แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงมากที่สุด 5 แหล่ง เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1) บุคคลที่ใกล้ชิด เช่น เพื่อน/ญาติ/คนในครอบครัว 2) บุคลากรสาธารณสุข 3) วิทยุ 4) อสม. และ 5) โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี ความพึงพอใจภาพรวมต่อข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (M=4.45, SD=0.53) ระดับความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลายอยู่ในระดับน้อย (M=0.56, SD=0.75) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคอยู่ในระดับมีปัญหา (M=59.61, SD=9.20) พฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลาง (M=11.37, SD=3.44) ภาพลักษณ์เชิงบวกของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนมีมุมมองในระดับมาก (M=17.90, SD=2.20) ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค ภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับต่ำ (0.344, .0196, 0.100, 0.176, 0.246, 0.319) แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ดี มีแหล่งข้อมูลหลากหลาย แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพยังอยู่ในระดับมีปัญหา เนื่องจากทักษะส่วนบุคคล การเข้าถึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนบางส่วนจะเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรคที่เหมาะสมกับแต่ละบริบทต่อไป
References
สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ; 2545.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangsailocal.go.th/post/000000646-49072e7f4cbf65ab30b884437f5fbda6.pdf
สุมาลี ชะนะมา, ภัทร วงษ์เจริญ, ศิริรัตน์ แนมขุนทด, ลัดดาวัลย์ มีแผนดี, อริสรา โปษณเจริญ, พงศ์ศิริ ตาลทอง และคณะ. ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2559-2563. วารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564; 63(3):607-17.
World Health Organization. The world health report 1998: life in the 21st century A vision for all [Internet]. Geneva: World Health Organization; 1998 [cited 2023 Dec 18]. 241 p. Available from: https://pesquisa.bvsalud.org/portal/resource/pt/pah-25006
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3):259-67. doi:10.1093/heapro/15.3.259
ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ปี 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิค ดีไซน; 2564.
พรทิพย์ แก้วชิณ, ชัญญานุช ไพรวงษ์, ธนาคาร เสถียรพูนสุข, วิฑูรย์ เจียกงูเหลือม, ภาวินี ทิพย์กระโทก, เสาวลักษณ์ บุตรศรี และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลละลวด อำเภอชานิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2564; 2(3):70-84.
วิทยา ศรแก้ว. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3(2):13-26.
ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชน ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิค ดีไซน; 2563.
Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd edition. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
Palys T. Purposive sampling. In: L.M. Given (Ed.) The Sage Encyclopedia of Qualitative Research Methods (Vol.2). Los Angeles: Sage; 2008. p.697-8.
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2552.
กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. แผนงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์กรมควบคมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. เอกสารอัดสำเนา.
Creswell JW, Plano Clark VL, Gutmann ML, Hanson WE. Advanced mixed methods research designs. In: A. Tashakkori, C. Teddlie (Eds.). Handbook of mixed methods in social and behavioral research. Thousand Oaks, CA: Sage; 2003. p.209-40.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2545.
ภูวดล ยั่งยืน, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่า. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลทุ่งมนและตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2563; 1(1):13-23.
พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่า, พุฒิพงษ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2563; 1(3):1-11.
ปรีชา พุกจีน, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่า, พุฒิพงศ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2566; 4(1):81-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว