การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บรรเทิง พลสวัสดิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่
  • อรุณศรี ผลเพิ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • จรูญศรี มีหนองหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, การมีส่วนร่วม, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่ ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ การศึกษาสถานการณ์การดูแลแบบประคับประคอง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม และการประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ ผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้รับบริการ จำนวน 16 คน 2) ผู้ให้บริการ จำนวน 6 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 8 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือสัมภาษณ์เป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามในการประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Wilcoxon sign ranks test

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ ประกอบด้วย 1) บุคลากร 2) การสื่อสาร 3) เครือข่าย 4) การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณและด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ/เวชภัณฑ์ ด้านความพึงพอใจของญาติต่อรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.81, S.D.=.36) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=3.07, P<.05) ทีมผู้ให้บริการมีความเห็นว่า สามารถปฏิบัติตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับปฏิบัติทุกครั้ง (x̄=3.91, S.D.=.28) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=2.21, P<.05) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ มี อสม.บั๊ดดี้ในการเยี่ยมบ้าน เกิดกลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มีการทำ Advance care plan มีศูนย์อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นสำหรับให้ผู้ป่วยยืมใช้ที่บ้าน

References

Sepulveda C, Marlin A, Yoshida T, Ullrich A. Palliative Care: The World Health Organization’s Global Perspective. Journal of Pain and Symptom Management 2002; 24(2):91-6.

วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้สูงอายุ: การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพ เล่ม 1. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

Kittikorn Nilmanat. International Perspective Palliative care in Thailand: Development and challenges. Canadian Oncology Nursing Journal 2016; 26(3):262-4.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง. [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.main.samatcha.org/node

ถวิล กลั่นวิมล, ชลิยา วามะลุน, โสภิต ทับทิมหิน, อาภาเพ็ญ ทำนุ, สุวรรณกิจ สมทรัพย์, นันทิยา แก้ววงษา. Palliative Care: โรงพยาบาลมะเร็ง อุบลราชธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2559; 41(1):33-40.

อัญชลี วิเศษชุนหศิลป์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองร่วมกับสหสาขาวิชาชีพหอผู้ป่วยพิเศษพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ 5 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและประชุมสามัญประจำปี สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; วันที่ 2-3 สิงหาคม 2556; โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์คอนเว็นชั่นเซ็นเตอร์ อุบลราชธานี.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd edition. Geelong: Deakin University;1992.

บรรเทิง พลสวัสดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559. 253 หน้า.

Graneheim UH, Lundman B. Qualitative content analysis in nursing research: concepts procedures and measures to achieve trustworthiness. Journal Nurse Education Today. 2004; 24(2):105-12.

บรรเทิง พลสวัสดิ์, สำราญ พูลทอง, กิตติยาพร จันทร์ชม, จรูญศรี มีหนองหว้า, ฉัตรวิไล วิบูลย์วิภา. การพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบไร้รอยต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(5):905-12.

ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์, บุญทิพย์ สิริธรังศร, พิเชฐ บัญญัติ. รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2560; 23(1):154-68.

รัตนาภรณ์ รักชาติ, สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, กัญญา ศรีอรุณ, ปานจิตร์ วงศ์ใหญ่, ภัทรนัย ไชยพรม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองและระยะท้าย โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนต้นแบบหมู่บ้านปลอดมะเร็งจังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2565; 4(2):1-19.

พระไพศาล วิสาโล. สุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม [อินเตอร์เน็ต]. 2549. [เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.visalo.org/article/healthsukapabkabOngRuam

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-26