การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างศักยภาพ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของการนำรูปแบบไปใช้ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2567 มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนด้วยการวิเคราะห์การรับรู้กฎหมายและความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยการตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 75 คน และพัฒนารูปแบบด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่คัดเลือกที่ปฏิบัติงานด้านโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม 21 คน 2) การนำรูปแบบไปใช้ โดยจัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 65 คน 3) ประเมินประสิทธิผล และ 4) สะท้อนผลการใช้รูปแบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแนวทางสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้กฎหมายอยู่ระดับมาก (X̄=3.75, S.D.=0.79) การปฏิบัติตามกฎหมายยุ่งยากระดับปานกลางถึงระดับมาก ร้อยละ 77.4 ความต้องการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติตามกฎหมายระดับมาก (X̄=4.01, S.D.=0.70) รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติตามกฎหมาย มีองค์ประกอบ 3 กิจกรรม ได้แก่การอบรมพัฒนาศักยภาพ การฝึกปฏิบัติจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และฐานข้อมูลรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความรู้ก่อนอบรมและหลังอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ความพร้อมต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ก่อนอบรมและหลังอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของรูปแบบระดับมากที่สุด (X̄=4.54, S.D.=0.45) การสะท้อนผลการใช้รูปแบบ พบว่า กิจกรรมของรูปแบบมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติงานได้ มีความยืดหยุ่นที่เพิ่มเติมข้อมูลได้ต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
References
พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 67 ก (ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562). หน้า 215-235.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2563 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ตุลาคม 2562. [เข้าถึงเมื่อ 15 มี.ค. 2567]. 377 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/08/kpi_2563_edit4.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2567 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ตุลาคม 2562. [เข้าถึงเมื่อ 15 มี.ค. 2567]. 377 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2024/03/kpi_template_edit.pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานประจำปี 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานประจำปี 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.
วงศกร อังคะคำมูล, พลภัทร ศรีกุล. ปัจจัยความสำเร็จของการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กรณีศึกษา พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563; 3(3):141-53.
วงศกร อังคะคำมูล, พลภัทร ศรีกุล. รูปแบบการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2564; 19(2):43-55.
หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม, สุธาทิพย์ บูรณสถิตนนท์, จตุพร บุนนาค. การประเมินการจัดการของจังหวัดในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย พ.ศ. 2565. วารสารควบคุมโรค 2566; 49(3):551-64.
ขจร อินธิแสน, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร. ความรู้ในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(3):403-15.
กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง. การรับรู้และการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(2):189-201.
ณชวิศ กิตติบวรดิฐ, สุริยัน บุญแท้, ธน หาพิพัฒน์, อดิศักดิ์ อธิภาคย์, ดำเกิง อัศวสุนทรางกูร. ประเมินผลการรับรู้ และความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของประชาชนใน 12 จังหวัด. วารสารศิลปะการจัดการ 2563; 4(1):59-72.
กมลชนก วงศ์สวัสดิ์, วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. ความรู้ความเข้าใจ ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2563; 7(2):53-67.
จตุพร บุนนาค, สาธิต นามวิชา. การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2567; 50(1):170-82.
ฉณะชิฌธิ์ ลับโกษาพิพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามมาตรการองค์กรปลอดภัยผลักดัน COVID-19 สู่โรคประจำถิ่นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านว่าน ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(1):448-57.
สำราญ เจริญผล. การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2566; 42(3):417-30.
รัฏฐรินีย์ ธนเศรษฐ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 9 ในยุควิถีใหม่. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2566; 8(1):167-86.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. รายงานประจำปี 2566 [อินเตอร์เน็ต]. ยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ธันวาคม 2566. [เข้าถึงเมื่อ 15 มี.ค. 2567]. 479 หน้า. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.181.11/ssjyasothon/FrontEnd/read_pdf-reportyearly.php?id=%2721%27
เพ็ญภักดิ์ สุขสิงห์, นาฏยา บุญญะโกศล, สิริยากรณ์ พลบุตร. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2567; 22(1):9-20.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558; 2(1):29-49.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา; 2551.
ภารดี เทพคายน. ระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2564. 65 หน้า.
วิยะดา รัตนสุวรรณ, ปะราลี โอภาสนันท์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2561; 11(4):156-74.
ศรีกัญภัสสร์ รังษีบวรกุล. การสอนออนไลน์สไตล์การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติระดับอุดมศึกษา. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย 2565; 4(2):55-67.
ฐิติรัศญาณ์ แก่นเพชร. การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมแบบออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอนในชุดวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารสมาคมนักวิจัย 2566; 28(3):1-26.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564-2568 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2567]. 156 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://ict.moph.go.th/upload_file/files/97c2287c8f04e13f81fec13e431e7a5e.pdf
ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(7):334-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว