การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภายหลังการถ่ายโอนภารกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ประคองสิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุดาหาร
  • สุคนธ์ทิพย์ อรุณกมลพัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การถ่ายโอนภารกิจ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภายหลังการถ่ายโอนภารกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2567 ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 48 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ pair t-test

ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาที่พบในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในระยะถ่ายโอนภารกิจของ รพ.สต.สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ คุณภาพของกระบวนการคัดกรองการค้นหาความเสี่ยงและการส่งต่อรักษาในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทีมนำยังขาดความรู้ ทักษะและความเข้าใจในบทบาทการดำเนินกิจกรรม กลุ่มเสี่ยงขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง ชุมชนยังไม่เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ขาดการใช้ทรัพยากรร่วมกันของชุมชนและไม่มีทีมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รูปแบบที่ได้คือ 2SPHTWE Model ประกอบด้วย Self-awareness หมายถึง การสร้างความตระหนักในตนเอง Participation & Communication หมายถึง การมีส่วนร่วมและการสื่อสาร Service System หมายถึง การปรับระบบบริการ Health Promoting Environment หมายถึง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ Wellness club หมายถึง การมีพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนและเสริมพลัง และ Evaluation & Empowerment หมายถึง การประเมินแบบเสริมพลัง การนำรูปแบบไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) การประชุมกลุ่ม ระดมสมองใช้กระบวนการ AIC เป็นผู้นำยุคใหม่ 2) พัฒนาองค์ความรู้ ปรับทัศนคติในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) ออกแบบระบบบริการไร้รอยต่อระหว่างหน่วยบริการสังกัดเดิมและสังกัดใหม่ในการดูแลสุขภาพของประชาชน 4) สื่อสารทันสมัย เข้าถึงง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริง 5) สนับสนุนการรวมตัวสร้างชมรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6) การสนับสนุนพื้นที่ สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ และ 7) มีพี่เลี้ยงติดตามสนับสนุนแบบเสริมพลัง ภายหลังการนำรูปแบบฯ ไปปฏิบัติผลการประเมิน พบว่า ระดับคะแนนความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความสามารถแห่งตน การมีส่วนร่วมและพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมถึงส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ระดับความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organization (WHO). Hypertension. 2022 [cited 2022 Oct 14]. Available from: https://www.who.int/health-topics/hypertension/#tab=tab_1

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2566. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 14 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/files/4155620240314033823.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. ข้อมูลบริหารจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mdo.moph.go.th/computer/web51v2/index.php

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. รายงานการปฏิบัติราชการข้อมูลด้านสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร; 2565.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน เล่มที่ 1. นนทบุรี: กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

Streubert HJ, Carpenter DR. Qualitative research in nursing: advancing the humanistic imperative. Philadelphia: J.B. Lippincott Company; 1995.

McTaggart R. Participatory action research for change and development. IRME; 2010.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2557.

นวพร วุฒิธรรม. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จากการมีส่วนร่วมของครอบครัว: กรณีศึกษาโรงพยาบาลดำเนินสะดวกในจังหวัดราชบุรี. พยาบาลสาร 2562; 46(2):70-82.

บุญเลิศ จันทร์หอม. ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ [รายงานการวิจัย]. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตรอน; 2564.

ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5(4):549-67.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ระบบบริการปฐมภูมิกับการสร้างเสริมสุขภาพ: ประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติงแอนด์พับลิสชิ่ง; 2565.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ประชาทิป กะทา. ปรัชญาสุขภาพปฐมภูมิ. นิตยสารสุขศาลา 2551; 1(1):42-7.

นิภา อินทะนิล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566; 2(2):63-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27