พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลแหลมสิงห์ จันทบุรี
คำสำคัญ:
คลินิกผู้สูงอายุ, การเข้าถึงบริการ, ภาวะพึ่งพิง, ดัชนีบาร์เธอเอดีแอลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงบริการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมพัฒนา ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำนวน 26 คน และกลุ่มที่รับบริการจากการนำรูปแบบไปให้บริการโรงพยาบาลแหลมสิงห์ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 60 คน ทำการพัฒนา 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนและพัฒนารูปแบบฯ การนำรูปแบบฯ ไปใช้ให้บริการ การประเมินผล และการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และเวทีการมีส่วนร่วมในการหาปัญหาและพัฒนารูปแบบฯ และแบบประเมินการเข้าถึงบริการและ ADL ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample t-test
ผลการศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในคลินิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 66-70 ปี ร้อยละ 53.3 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 45.0 มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.3 และโรคไต ร้อยละ 16.7 มีผู้ดูแล ร้อยละ 80.0 ประกอบอาชีพที่ก่อรายได้ร้อยละ 53.3 มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า UC ร้อยละ 80.0 ปัญหาการเข้าถึงบริการคือ ไม่มีบุคคลส่งมารับบริการที่โรงพยาบาล ช่องทางบริการที่ผู้สูงอายุไม่ทราบคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รูปแบบที่ได้จากการพัฒนาคือ รูปแบบการให้บริการผู้สูงอายุแบบบูรณาการในคลินิกผู้สูงอายุ จากการนำรูปแบบไปให้บริการ พบว่า ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 91.66 คะแนนประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธอเอดีแอล (Barthel index of Activities of Daily Living: ADL) เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 10.58 มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น 5 คน และสามารถลุกนั่งจากที่นอนหรือเตียงไปยังเก้าอี้ 4 คน และพบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้บริการฯ ก่อนและหลังต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ > 0.001
References
World Health Organization. Report on Aging and Health. [Internet]. 2015 [cited 2020 Mar 10] Available from: https://www.researchgate.net/publication/288832120_WHO_world_report_on_Ageing_2015
ณัฏฐพัชร สโรบล, เอกจิตรา คำมีศรีสุข. บทเรียนความสุข 5 มิติ ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านฟ้า รังสิต.กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2558.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. การศึกษารูปแบบการดำเนินงานคลินิกผู้สูงอายุในสถานบริการทุกระดับสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2567]. 264 หน้า. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2024/06/05062567_002.pdf
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. คู่มือ แนวทางการจัดบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_5.pd
ทศพร คำผลศิริ, โรจนี จินตนาวัฒน์, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. การศึกษาศักยภาพของชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษา: ตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 15(2):86-98.
ศิริพร งามขำ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, จารุวรรณ หมั่นมี. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2561; 25(2):91-104.
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิลาวัณย์ ชาดา, วิพา ชุปวา, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, สุทิน ชนะบุญ, เบญจพล แสงไสว และคณะ. ภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563 ; 30(3):35-49.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในแต่ละสถานบริการภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง[รายงานการวิจัย]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2556.
ศิริ พันธ์ทา. การสร้างความพึงพอใจต่อการให้บริการในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน. วารสารพัฒนาการเรียนรู้ยุคใหม่ 2562; 4(2):32-47.
ร้อยเอกหญิงสุมิตตา ทองมิตร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562. 102 หน้า.
รุ่งทิพย์ นิลพัท. คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2561. 110 หน้า.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว