ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ ในตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยทำนายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของแดเนียล มีการสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้น ได้จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบถูกผิด และมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ IOC เท่ากับ 0.97 และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่า KR20 ในแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เท่ากับ 0.74 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ในแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะการจัดการตนเอง ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านทักษะการตัดสินใจ และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.87, 0.82, 0.87, 0.85, 0.83 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (X̄=57.15, S.D.=10.59) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ มีจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (โรคประจำตัว) ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านทักษะการจัดการตนเอง ด้านทักษะการตัดสินใจ และด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ) โดยทั้ง 5 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 57 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (Adj. R2=.570, F=67.568, p<0.05) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน การให้สุขศึกษา และการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
References
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา. รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันที่ 1 กันยายน 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.nrct.go.th/daily-report-1sep2022/
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จังหวัดเชียงราย. สถานการณ์โควิดของประเทศและจังหวัด. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangrai.go.th/covid/
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทความสุขภาพ: ผลสำรวจคนไทยกว่าร้อยละ 30 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงติดโควิด 19. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/07/172715/
กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กัมปนาท โคตรพันธ์, นิยม จันทร์นวล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16 Research and Innovation for SDGs in the Next Normal; 11-12 กรกฎาคม 2565; มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี: 2565. หน้า 148-60.
วรรณฤดี เชาว์อยชัย, รัตติกาล พรหมพาหกุล, อารียา ประเสริฐสังข์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(2):41-8.
Mae Chan Community Health Center, Medical Records and Statistics Unit. Covid-19 Statistic in Mae Chan District, Chiangrai Province. Chiangrai: Mae Chan Hospital, Ministry of Public Health; 2022.
ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(SUPP2):247-59.
Adamchareon B, Iemsawasdikul W. Relationship between health literacy and COVID-19 preventive behaviors in new normal era among working-age people in the Bangkok Metropolitan and its suburbs. Thai Journal of Nursing 2022; 71(3):27-35.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008; 67(12):2072-8
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์; 2551.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ปนัดดา งามเปรี่ยม, สุรัตนา เหล่าไชย, ประภากร ศรีสว่าวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(3):104-14.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, อังศินันท์ อินทรกาแหง. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันโรคภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบดำเนินงานอำเภอรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Bloom BS. Toward a theory of testing which includes measurement-evaluation-assessment: University of California; 1968.
Best JW, Kahn JV. Research in Education. Boston: Allyn and Bacon; 1997.
กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฏกำจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1):200-12.
วิลาสินี หลิ่วน้อย, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, กาญจนา พิบูลย์, ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566; 17(1):394-407.
Ayaz-Alkaya S, Dülger H. Fear of coronavirus and health literacy levels of older adults during the COVID-19 pandemic. Geriatric Nursing 2022; 43:45-50.
อลิษา เปียจันทร์, สลักจิต เเจ้งเอี่ยม, วาสนา บุณยมณี, ศิริลักษณ์ วรรณละเอียด, วิมล อ่อนเส็ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม 2567; 8(6):227-39.
ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(SUPP2):247-59.
ชื่นกมล สิทธิยอดยิ่ง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565; 2(2):46-60.
นพวรรณ วัชรพุทธ. เรื่องปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้ให้บริการด้านการนวดในสถานประกอบการด้านการแพทย์แผนไทย จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.
เอกราช มีแก้ว, วัลลภ ใจดี, สุนิศา แสงจันทร์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564; 32(1):74-87.
เบญจมาศ ถาดแสง, พีรนุช ลาเซอร์. การสร้างเสริมความเข้มแข็งของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้มีสุขภาพดีตามวิถีชุมชนตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 2(3):1-17
พลอยไพลิน จินตนา, เทียนทอง ต๊ะแก้ว. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2567; 22(1):78-89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว