การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุม ปัญหาฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในจังหวัดอำนาจเจริญและมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ฤชุอร วงศ์ภิรมย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ฉัตรพงษ์ ศรีสูงเนิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศุภวัจน์ ศรีสูงเนิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัญหาฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมปัญหาฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญและมุกดาหาร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.61, SD=0.98)  การเข้าถึงแหล่งข้อมูลของการรับรู้ ร้อยละ 100.0 แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงมากที่สุด 5 แหล่ง เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1) บุคลากรสาธารณสุข 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 3) โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี 4) อินเตอร์เน็ต และวิทยุ ความพึงพอใจภาพรวมต่อข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (M=4.11, SD=0.53) ระดับความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมปัญหาฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในระดับน้อย (M=1.43, SD=0.96) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคอยู่ในระดับมีปัญหา (M=3.87, SD=0.60) พฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก (M=3.01, SD=0.96) ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.151, 0.185, -0.130, -0.379, 0.222)

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: ทจก. ส.มงคลการพิมพ์; 2562.

Sripaiboonkij P, Tipayamongkholgul M, Limsuwat N. Health impacts of PM2.5 exposure in rural communities. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021; 18(12):6345.

Chiarakorn K, Pochanart V, Jurawan W. Source apportionment of PM2.5 in northeastern Thailand. Environmental Research Letters 2019; 14(9):094016.

Prasitwattanachai S, Wangwongwatana S, Suttinun O. Temporal and spatial variations of particulate matter in the upper northeastern region of Thailand. Atmosphere 2020; 11(7):737.

สุทธิดา สืบทรัพย์, นิสิต อินลี, ประยุทธ เตียตระกูล, ศรินภัสร์ ยืนยงกิติกุล. การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประชาชนจังหวัดมุกดาหาร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี 2566; 11(1):77-83.

อรสา ทองทศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของประชากรในกรุงเทพมหานคร[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2545 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214155551.pdf

วิภาดา สนองราษฎร์, นราธิป ชมพูบุตร. การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในโรงพยาบาลในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย 2559; 30(3):11-8.

ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชน ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิค ดีไซน; 2563.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd edition. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3):607-10.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, จำเนียร โลหชุณโสภาค. การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 2564; 32(2):1-15.

Bloom B. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals- handbook 1. New York: David McKey; 1956.

กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. แผนงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์กรมควบคมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. เอกสารอัดสำเนา.

Creswell JW, Plano Clark VL, Gutmann ML, Hanson WE. Advanced mixed methods research designs. In: A. Tashakkori, C. Teddlie (Eds.). Handbook of mixed methods in social and behavioral research. Thousand Oaks, CA: Sage; 2003. p.209-40.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2545.

ญาณิศา พึ่งเกตุ, ปัญจ์พัชรภร บุญพร้อม, เบญจมาศ ทองไข่มุกต์, นวลนิตย์ แสงศิริวุฒิ, อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กของบุคลากร กรณีศึกษา: องค์กรแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ 2565; 26(1):98-107.

ศิริชัย รินทะราช. ความรอบรู้และพฤต ิกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนต่อกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2567; 17(1):198-210.

Sørensen K, Brand H. Health literacy lost in translations? Introducing the European Health Literacy Glossary. Health Promot Int. 2014 Dec; 29(4):634-44. doi:10.1093/heapro/dat013

Adams NE. Bloom's taxonomy of cognitive learning objectives. J Med Libr Assoc. 2015 Jul; 103(3):152-3. doi:10.3163/1536-5050.103.3.010

Jansen T, Rademakers J, Waverijn G, Verheij R, Osborne R, Heijmans M. The role of health literacy in explaining the association between educational attainment and the use of out-of-hours primary care services in chronically ill people: a survey study. BMC Health Serv Res. 2018 May 31; 18(1):394. doi:10.1186/s12913-018-3197-4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27