การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิกบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พรรณธิดา มูลประดับ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • บุปผชาติ พวงจันทร์ โรงพยาบาลสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พลอยไพลิน เทพาฑีปกรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อภิญญา จำปา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, เชื้อเอชไอวี, รูปแบบการดูแล

บทคัดย่อ

การดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิกโรงพยาบาล เน้นการให้บริการรักษาตามมาตรฐานการให้ บริการของประเทศตามบริบทที่เหมาะสม การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบบูรณาการและต่อเนื่อง จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนในคลินิกบริการโรงพยาบาลชุมชน ของจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้ เน้นนำเสนอเฉพาะขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ และการนำรูปแบบไปใช้เท่านั้น หน่วยในการศึกษาคือ คลินิกในโรงพยาบาลชุมชนสองแห่ง กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 12 คน กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายผู้ติดเชื้อและตัวแทนผู้ติดเชื้อ จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ให้ข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา จำนวน 43 คน แบ่งกระบวนการพัฒนาเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา การพัฒนารูปแบบฯ และการนำรูปแบบไปให้บริการในคลินิกของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กระบวนการกลุ่มและการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมพัฒนารูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา สถานการณ์ปัญหาพบว่าผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ ไม่ตรงตามเวลาทุกครั้ง ร้อยละ 16.3 ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 79.1 และได้รับการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และการเยี่ยมบ้านในชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 0.46 ด้านการให้บริการในคลินิก พบว่า ผู้ติดเชื้อขาดการดูแลแบบองค์รวมในฐานะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบางพิเศษ และขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุมาช่วยวางแผนให้บริการในคลินิก นำมาสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบบูรณาการที่เหมาะสมจากคลินิกโรงพยาบาลสู่ชุมชน รูปแบบที่ได้คือ HCQ Model (Holistic Care, Continuous Care, and Quality of life) ประกอบด้วย การดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของผู้สูงอายุ การดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงชุมชน และการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต อย่างสมศักดิ์ศรี รูปแบบการให้บริการดังกล่าว เป็นภารกิจสำคัญของโรงพยาบาลในการให้บริการ โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุได้รับบริการที่ครอบคลุมทุกมิติ ในฐานะที่เป็นกลุ่มเปราะบางพิเศษ และนำไปประกาศเป็นนโยบายการให้บริการ ในคลินิกโรงพยาบาลเป้าหมายสองแห่งร่วมกัน

References

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Pneumocystis pneumonia: Los Angeles. Morbidity and Mortal Weekly Report (MMWR) 1981; 30(21):1-3.

Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS), World Health Organization (WHO). AIDS epidemic update: December 2009 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2009 [cited 2024 Dec 12]. Available from: https://www.un.org/youthenvoy/2013/08/unaids-joint-united-nations-programme-on-hivaids/

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. HIV Info Hub: การรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

ดวงเนตร ธรรมกุล, ศิริพร ครุฑกาศ, อุษณีย์ เทพวรชัย, เยาวรัตน์ อินทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553; 4(2):45-58.

Stephen Kemmis, Robin McTaggart, Rhonda Nixon. The Action Research Planer: Doing Critical Participatory Action Research. Singapore: Springer publication; 2013.

พนารัตน์ วิศวเทพนิมิต, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. การดูแลแบบองค์รวมและการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2560.

วรรณพร พัฒนิบุลย์, จิรพันธ์ ปทุมอ่อน, จุฑาลักษ์ แก้วมะไฟ. การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลร้อยเอ็ด 2564; 15(3):12-25.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP). การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมในระดับปฐมภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ihppthaigov.or.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2567.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สสส.; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

จิตติมา บุญเกิด. Comprehensive Geriatric Assessment (CGA): How to change the system of primary care. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2555.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: สปสช; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2567] เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/medicalrecord/th/siti

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27