มาตรฐานทางจริยธรรมของเวชสารแพทย์ทหารบก

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

 - ดำเนินการให้เวชสารแพทย์ทหารบกบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการเผยแพร่งานวิจัย และความรู้เกี่ยวกับกิจการสายแพทย์ และการเสนารักษ์
- เปิดโอกาสให้มีการเสนอบทความประเภทต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- จัดทำคำแนะนำผู้นิพนธ์ เพื่อให้ผู้นิพนธ์ทุกท่านสามารถจัดเตรียมต้นฉบับก่อนส่งได้อย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง รวมถึงทราบขั้นตอนและกำหนดเวลาสำหรับใช้ในการตรวจประเมินบทความ
-ดำเนินการตามขั้นตอนการรับพิจารณา ตรวจสอบจริยธรรมการวิจัย ตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ รูปแบบและความครบถ้วนของเนื้อหา ก่อนส่งประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปิดทั้งสองทาง (ผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน) โดยมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพและเหมาะสมกับเวชสาร และตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนด
- ผู้ทำหน้าที่พิจารณาบทความต้องสามารถทำได้โดยอิสระ ปราศจากความลำเอียง และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
- ต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ระหว่างห้วงเวลาประเมินบทความ
- เปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้ กรณีผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการโดยโทรศัพท์ ส่งข้อคำถามหรือคำอธิบายเพิ่มเติมมายังกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณา
- ดำเนินการแก้ไข ชี้แจง ถอนบทความ หากพบว่ามีข้อผิดพลาด
- ปรับปรุงวารสารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์

- รับผิดชอบต่อเนื้อหาข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในบทความ
- จัดเตรียมต้นฉบับที่ส่งให้พิจารณาโดยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างกำลังส่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- บทความต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย และต้องระบุกรณีการวิจัยมีผลประโยชน์ทับซ้อน
- ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับทราบในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในเวชสารแพทย์ทหารบก
- เตรียมต้นฉบับให้ถูกต้องตามแบบของเวชสารแพทย์ทหารบก โดยให้ผู้นิพนธ์ศึกษาได้จากคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หัวข้อการเตรียมต้นฉบับ และตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ได้จากเวชสารแพทย์ทหารบก
- กรณีที่ต้องการตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ควรตรวจสอบภาษาอังกฤษทั้งฉบับให้ถูกต้องก่อนส่งตีพิมพ์

 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ

- ประเมินบทความโดยอิสระ ไม่ลำเอียง และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
- ประเมินบทความตรงตามสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ
- ประเมินตามเกณฑ์การประเมินของเวชสาร แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์ สอดคล้องกับบทความ ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ
-ต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- แจ้งกองบรรณาธิการทราบทันที กรณีตรวจพบการทำผิดจริยธรรมการวิจัย ของบทความที่ส่งประเมิน
- ประเมินบทความในเวลาที่เวชสารกำหนด