ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบเพิ่มแรงต้านต่อความรุนแรงของโรคและสมรรถภาพข้อเข่าในชาวสวนยางพาราสูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

Main Article Content

ธนพงศ์ แสงส่องสิน
ชนนท์ กองกมล

Abstract

ความเป็นมา การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่วมกับการจัดการด้านการยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอย่างไรก็ตามการศึกษาที่นำการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมมาบูรณาการยังมีน้อย วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นที่น้อยที่สุดที่สามารถแสดงนัยสำคัญทางคลินิกของค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของความรุนแรงของโรค และค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบมาตรฐาน วิธีการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ Single-Blinded, Clustered Randomized Controlled Trial มีผู้เข้าร่วมวิจัย 50 คน จาก 2 ชุมชน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบมาตรฐาน ประเมินผลก่อนเริ่มการศึกษา สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ด้วย Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) และการทดสอบ Timed Up and Go Test (TUG) และ 40m Self-Paced Walk Test (SPWT) ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของ WOMAC ที่เปลี่ยนแปลงกับค่า MCID ด้วย one sample t-test ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีผลคะแนนรวมของ WOMAC เมื่อสัปดาห์ที่ 4 มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.01) และผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายอยู่ในช่วงของผลการศึกษาของ Wright สรุป โปรแกรมการออกกำลังกายสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคและเพิ่มสมรรถภาพข้อเข่าในชาวสวนยางสูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้


Effects of Progressive Resistance Exercise on Physical Function and WOMAC of Aged Para Rubber Farmers with Knee Osteoarthritis


Background: Ergonomic management and muscle strengthening exercise, could reduce severity of knee osteoarthritis in aged para-rubber farmers, however, the existing knowledge of integrating participatory ergonomic approaches in these aged workers was limited. Objective: To compare Minimal Clinically Important Difference (MCID) of mean of change score of disease severity and mean of change score of physical function between progressive resistance exercise and ergonomic self-care promoting program and standard treatment. Design: A single-blinded, clustered randomized controlled trial was carried out. Participants (n = 50) from 2 different communities were randomly assigned to experimental and control group. The experimental group received -2months exercise program and the control group received standard treatment care. Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC), Timed Up and Go Test (TUG) and 40 m Self-Paced Walk Test (SPWT) were measured at baseline, 4 week and 8 week. Compare mean of WOMAC changed score by one sample t-test. Results: Experiment group has significant change of mean of total score of WOMAC at 4th week by compare to MCID of Hmamouchi (p-value < 0.01). Experiment group has mean of change score of physical function in Wright’s range score Conclusion: progressive resistance exercise and ergonomic self-care promoting program could decrease severity of knee OA and increase functional ability in the aged para-rubber farmers with knee OA

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)