ภาวะไขมันในเลือดสูง

Main Article Content

Nattapol Sathavarodom

Abstract

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หมายถึงภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol; TC) สูง ทั้งนี้ได้แบ่งเป็นสองระดับคือ TC ≥200 มก./ดล. และ TC ≥ 240 มก./ดล. ส่วนภาวะเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำ หมายถึง < 40 มก./ดล. ในชาย และ < 50 มก./ดล. ในหญิง ส่วนภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride; TG) สูงหมายถึง TG ≥ 150 มก./ดล. ทั้งนี้ โดยผู้ที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจเลือด ได้รับคำแนะนำให้อดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่าตั้งแต่ 20.00 ของคืน 1 วันก่อนการเจาะเลือดตรวจดังนั้นจึงเป็นการอดอาหาร 12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือดตรวจ จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 ปี 2562 -2563 พบระดับเฉลี่ยของ TC, TG, และ HDL-C ของประชาชนไทยที่ เท่ากับ 210.1 มก./ดล., 150.9 มก./ดล. และ 53.9 มก./ดล. ตามลำดับ โดยความชุกของภาวะไขมัน TC สูงที่จุดตัดสองระดับคือ ≥ 200 มก./ดล. และ ≥ 240 มก./ดล. เท่ากับร้อยละ 56.8 และ 23.5 ตามลำดับ ความชุกของภาวะไขมัน TG สูง เท่ากับร้อยละ 36.0 และความชุกของภาวะ HDL-C ต่ำมีร้อยละ 25.9 เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5 และ 6 ภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ในผู้หญิงเพิ่มจาก 199.5 เป็น 213.2 มก./ดล. ในผู้ชายเพิ่มจาก 192.7 เป็น 206.8 มก./ดล. และความชุกของ TC ≥ 240 มก./ดล. ในผู้หญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.7 เป็น 25.1 และ ในผู้ชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.9 เป็น 21.7(1) ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ผู้นิพนธ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูง โดยรวบรวมจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ที่ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์การใช้ยาแล้วในประเทศไทย

Article Details

Section
บทความฟื้นวิชา (Subject Review)

References

Aekplakorn W, Puckcharern H, Satheannoppakao W, editors. [Thai National Health Examination Survey, NHES VI 2019-2020]. Bangkok: Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University;2020. Thai.

Thai Atherosclerosis Society. [2016 RCPT Clinical Practice Guideline on Pharmacologic Therapy of Dyslipidemia for Atherosclerotic Cardiovascular Disease Prevention. Bangkok : Thai Atherosclerosis Society;2017.

Sabatine MS, Leiter LA, Wiviott SD, Giugliano RP, Deedwania P, De Ferrari GM, et al. Cardiovascular safety and efficacy of the PCSK9 inhibitor evolocumab in patients with and without diabetes and the effect of evolocumab on glycaemia and risk of new-onset diabetes: a prespecified analysis of the FOURIER randomised controlled trial. Lancet Diabetes Endocrinol. 2017;5(12):941–50.

Ray KK, Raal FJ, Kallend DG, Jaros MJ, Koenig W, Leiter LA, et al. Inclisiran and cardiovascular events: a patient-level analysis of phase III trials. Eur Heart J. 2023;44(2):129–38.

Nissen SE, Lincoff AM, Brennan D, Ray KK, Mason D, Kastelein JJP, et al. Bempedoic Acid and Cardiovascular Outcomes in Statin-Intolerant Patients. N Engl J Med. 2023;388(15):1353–64.

Raal FJ, Rosenson RS, Reeskamp LF, Hovingh GK, Kastelein JJP, Rubba P, et al. Evinacumab for Homozygous Familial Hypercholesterolemia. N Engl J Med. 2020;383(8):711–20.

Bhatt DL, Steg PG, Miller M, Brinton EA, Jacobson TA, Ketchum SB, et al. Cardiovascular Risk Reduction with Icosapent Ethyl for Hypertriglyceridemia. N Engl J Med. 2019;380(1):11–22.

Budoff MJ, Bhatt DL, Kinninger A, Lakshmanan S, Muhlestein JB, Le VT, et al. Effect of icosapent ethyl on progression of coronary atherosclerosis in patients with elevated triglycerides on statin therapy: final results of the EVAPORATE trial. Eur Heart J. 2020;41(40):3925–32.