ความแม่นยำในการตรวจหาจำนวนรอยโรคตับที่เป็นเฉพาะจุด ระหว่างการใช้เทคนิคภาพเน้นน้ำ�หนักดิฟฟิวชั่นและการใช้เทคนิคภาพเน้นน้ำ�หนัก ทีทูเทอร์โบสปินเอคโค่ของการตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

นทีญาณ์ คูหิรัญ
บุษบง หนูหล้า
ชัชชาญ คงพานิช
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: มะเร็งตับนับเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในประเทศไทย การตรวจหาจำนวนเนื้องอกตับให้แม่นยำมีความสำคัญต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค ปัจจุบันการตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) มีบทบาทสำคัญในการตรวจวินิจฉัยเนื้องอกในตับ โดยเฉพาะเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทูและเทคนิคการตรวจโดยมีการฉีดสารเพิ่มความชัดภาพจะช่วยในการตรวจหาก้อนในตับได้ดีแต่อาจไม่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตเสื่อมซึ่งเสี่ยงต่อภาวะ Nephrogenic Systemic Fibrosis (NSF) ผู้ป่วยที่แพ้ หรือไม่ต้องการฉีดสารเพิ่มความชัดภาพ ปัจจุบันมีแนวคิดว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่น อาจมีความแม่นยำกว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทูในการตรวจหาจำนวนเนื้องอกตับ ซึ่งเทคนิคนี้ยังไม่ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจ MRI ช่องท้องส่วนบน ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแม่นยำในการตรวจหารอยโรคเฉพาะจุดในตับระหว่างการใช้เทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นและภาพเน้นน้ำหนักทีทู วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยผู้ป่วยที่มาเข้ารับการตรวจ MRI ช่องท้องตามความต้องการของแพทย์ผู้ส่งตรวจในห้วง กุมภาพันธ์ 2254 ถึง ธันวาคม 2554 จำนวน 107 รายได้รับการตรวจด้วยเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นที่มี b value เท่ากับ 50 s/mm2 เพิ่มเติมจากเทคนิคปกติ หลังจากนั้นภาพ MRI ช่องท้องของผู้ป่วยที่ได้จากเทคนิคทั้งสองจะถูกอ่านและนับจำนวนก้อนโดยรังสีแพทย์จำนวน 2 ท่าน ผลการอ่านจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลการอ่านและแปลผลภาพที่ได้จากเทคนิคการตรวจโดยมีการฉีดสารเพิ่มความชัดภาพ ร่วมกับภาพที่ได้จากเทคนิคอื่นๆ ที่อยู่ใน routine protocol แล้วนำมาคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษา: ตรวจพบรอยโรคทั้งหมด 200 รอยโรค จากผู้ป่วย 69 ราย การคำนวณค่าความแม่นยำพบว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทูและดิฟฟิวชั่นมีค่าความไว (sensitivity) พอๆ กัน โดยเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทูมีค่า sensitivity = 72.2% ส่วนเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นมีค่า sensitivity = 74% ส่วนค่าความจำเพาะ (specificity) พบว่าค่า specificity ของภาพเน้นน้ำหนักทีทู (84.9%) มากกว่าของเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่น (71.7%) และในกลุ่มรอยโรคที่มีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร พบว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทูมีค่าความแม่นยำมากกว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่น สรุป: ถึงแม้ส่วนใหญ่รอยโรคในภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นจะมีคอนทราสกับเนื้อตับมากกว่าในภาพเน้นน้ำหนักทีทู แต่การที่ความแม่นยำในการตรวจหารอยโรคโดยเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นไม่ได้ดีกว่าเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักทีทู อาจเนื่องจากในการศึกษาครั้งนี้เทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นมีปัจจัยที่ทำให้มีการแปลผลที่ผิดพลาดหลายอย่าง ซึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากเทคนิค DWI ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การนำเทคนิคภาพเน้นน้ำหนักดิฟฟิวชั่นมาช่วยเสริมกับเทคนิคอื่นๆ ใน routine protocol อาจช่วยทำให้รังสีแพทย์อ่านและแปลผล MRI ของรอยโรคเฉพาะที่ในตับได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

คำสำคัญ: Focal viver lesion \cdot MRI \cdot Accuracy

 

Abstract

Background: Liver cancer is one of the major health problems in Thailand. Ability to detect focal liver lesion accurately is crucial for treatment and prognosis of the disease. Currently, MRI plays a major role in the investigation of focal liver lesion, especially T2-weighted and dynamic contrasted techniques which are more beneficial for focal liver lesion detection. However, the dynamic contrasted techniques may not be suitable for patients with impaired renal function who have increased risk for Nephrogenic Systemic Fibrosis (NSF), patients with contrast allergy or patients who deny contrast media administration. Presently, new concepts begin to emerge saying that diffusion imaging technique may be more accurate than T2-weighted techniques for the detection of liver tumors. This technique has not been used widely in the upper abdominal MRI at PMK Hospital. Objective: To evaluate accuracy of focal liver lesion detection between diffusion-weighted and T2-weighted techniques. Material and Methods: This study is a descriptive study. One hundred and seven patients who received MRI of the abdomen by the request of their doctors from February 2011 to December 2011 were given an additional imaging sequence, specifically diffusion weighted technique having b-value equal to 50 s/mm2. After that, images of the MRI from both techniques will be read and number of liver tumor will be counted by 2 radiologists. The findings will be statistically analyzed and compared with the results of reading and interpreting the images obtained from dynamic contrasted technique. Results: All 200 lesions were detected from 69 subjects. The findings shows that T2 weighted and diffusion weighted techniques have similar sensitivity. The T2 weighted and diffusion weighted imaging technique have the sensitivity of 72.2% and 74% respectively. However the specificity of T2 weighted (84.9%) is more than that of diffusion weighted technique (71.7%). In those lesions which are smaller than 0.5 cm, the study showed that T2 weighted technique gave more accurate findings than diffusion weighted technique. Conclusion: Although the diffusion weighted technique allowed better contrast between normal liver tissue and liver lesions than those obtained from T2 weighted technique, the accuracy for the detection of liver lesions by both imaging techniques are not very different from one another. This is probably because diffusion weighted technique has many factors that may lead to erroneous interpretations, which may be due to suboptimal technique of diffusion-weighted imaging in this study. However, diffusion weighted technique can be used as a supplement with other techniques in the routine protocol which may aid radiologists in reading and interpreting MRI of liver lesions more quickly.

Key Words: Focal viver lesion • MRI • Accuracy

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)