ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยไตเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเบาหวานที่ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม

Main Article Content

ศุภณัฏฐ์ พรหมรุ่งเรือง
บัญชา สถิระพจน์
อภัสนี บุญญาวรกุล
อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

บทนำ : ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีเป็นเครื่องมือที่ทั่วโลกใช้ในการติดตามการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายอาจมีความแม่นยำน้อย เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี เช่น ภาวะโลหิตจาง การใช้ฮอร์โมนอิริโธรโพอิตินและการที่เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นลง วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเบาหวาน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่มีการทำงานของไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีกรศึกษ: เป็นการศึกษาแบบ cross sectional study ในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคเบาหวานแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 47 ราย และ ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่มีการทำงานของไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 39 ราย โดยรวบรวมผู้ป่วยจากแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกโรคไต กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการซักประวัติตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร การทำงานของไต แลระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ผลกรศึกษ: ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มทั้งอายุเฉลี่ย และโรคร่วมอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเท่ากับ 95.11 ± 10.74 มก./ดล. และกลุ่มควบคุมมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเท่ากับ 95.46 ± 6.60 มก./ดล. ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.16 ± 0.42 เทียบกับ 5.70 ± 0.46, p < 0.001) นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีระดับค่าระดับยูเรีย และครีเอตินีนในเลือดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีระดับความเข้มข้นเลือดจากระดับฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริตต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป : ระดับของฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเบาหวานที่ได้รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีระดับต่ำกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีโรคไตเรื้อรัง ขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมีค่าเท่ากัน ดังนั้นการใช้ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีเพื่อประเมินผลการควบคุมเบาหวานในผู้ป่วยไตเรื้อรังควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

คำสำคัญ: Hemoglobin A1c \cdot End-stage renal disease \cdot lycemic control \cdot Plasma glucose

 

Abstract

Background: Hemoglobin A1c (HbA1C) level is a worldwide method using to monitor glycemic control in diabetic patients. However, HbA1C in patients with end-stage renal disease (ESRD) might not be relevant because of many of interference factors such as anemia, erythropoietin usage, and short red blood cell life span. Objective: To determine the level of HbA1C in non-diabetic ESRD patients undergoing hemodialysis compared with non-diabetic ESRD patients undergoing hemodialysis. Methods: We enrolled 47 non-diabetic ESRD patients undergoing hemodialysis and 39 non-diabetic patients without kidney disease at the out-patient clinic, Phramongkutklao Hospital. The overnight-fast blood was drawn for plasma glucose, HbA1C , urea nitrogen (BUN) and serum creatinine. Results: The baseline characteristics include age and co-morbid diseases were similar in the both groups. The laboratory data demonstrated that no difference of plasma glucose were detected (non-diabetic ESRD group; 95.11 ± 10.74 mg/dL vs control group; 95.46 ± 6.60 mg/dL), but mean of HbA1C level was significant lower in non-diabetic ESRD group (non-diabetic ESRD group; 5.16 ± 0.42 vs control group; 5.70 ± 0.46 %, p < 0.001). In additional, non-diabetic ESRD group had significant lower glomerular filtration rate (BUN and serum creatinine), hemoglobin and hematocrit. Conclusion: This study demonstrated that the level of HbA1c in non diabetic ESRD patients undergoing hemodialysis was lower than those in non diabetic patients without kidney disease. Therefore, the HbA1c level should interpreted with caution for monitoring of glycemic control in ESRD patients undergoing hemodialysis.

Key Words: Hemoglobin A1c • End-stage renal disease • Glycemic control • Plasma glucose

 

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)