ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ แผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

องค์อร ประจันเขตต์

Abstract

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อลดปริมาณไวรัสให้ต่ำที่สุด มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อนำไปวางแผนให้การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในเรื่องเพศ อายุ การมีงานทำ ระยะเวลาที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ ประวัติการติดเชื้อฉวยโอกาส ความเชื่อด้านสุขภาพ กับ ระดับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ รออกแบบกรวิจัย: ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (analytic study) เก็บข้อมูลในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ณ แผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 180 ราย ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และ Visual Analog Scale (VAS) ประเมินความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยา หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (Spearman’s rank correlation coefficient) ผลกรวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี 100.30 คะแนน มีค่าเฉลี่ยของความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เท่ากับ 88.31 การหาความสัมพันธ์พบว่า ประวัติการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส ความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ (rs = 0.240 และ rs = 0.374 ตามลำดับ) และด้านการรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ (rs = -0.268) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปและวิจรณ์: การส่งเสริมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ บุคลากรทางการแพทย์ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และควรคำนึงถึงประวัติการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส ความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขต่อไป

คำสำคัญ: การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ \cdot ยาต้านไวรัสเอดส์

 

Abstract

Introduction: There has been no method of eradicating AIDS completely; antiretroviral (ARV) treatment is the only means of retarding the progression of AIDS and prolonging the longevity and improving the quality of life. Health care provider should concern about the related factors with adherence to antiretroviral therapy for effective care. Objective: The purpose of this study was to identify relationship between selected factors and health belief with adherence to antiretroviral therapy (ART) among people living with HIV/AIDS (PLWHA). Methods: An analytical research was performed involving 180 people living with HIV/AIDS attending infectious division, Department of Medicine, Phramongkutklao Hospital whom selected by purposive sampling from February to May 2011. The demographic data, adherence behavior and health belief were collected from the structured questionnaires and the Visual Analog Scale (VAS) was used to determined ART adherence. Data were analyzed using descriptive statistics e.g. frequencies, percentage, standard deviation, mean score and Spearman’s rank correlation coefficient. Results: The findings show that PLWHA had percentage of mean score of overall health belief at 100.30. Participants’s adherence to ART ranged from 56-100% with a mean score of 88.31% (SD = 5.82). Approximately, 72% of participants had good adherence to ART (≥ 95%). Adherence to ART was positively correlated with history of opportunistic infection (rs = 0.240, p < .05), perceived benefits of ART (rs = 0.374, p < 0.05) and negatively correlated with perceived barrier (rs = -0.268, p < 0.05). Conclusion: The results suggest that, to enhance ART adherence health care provider should provide the correct perception of ART benefit and help PLWHA find a solution to overcome self-adherence which consistent with the pattern of living life. With consideration to the history of opportunistic infection.

Key Words: Medication adherence • Antiretroviral therapy

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)