ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการกำกับตนเอง ในการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

Main Article Content

วิรัล ธัญวิรัล
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ประชา อินัง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นการวิจัยเชิงทดลองในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่มีการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จำนวน 24 คนแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมของโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดของแบนดูรา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงมีการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงมีการกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพในระยะหลังการทดลองและระยะติดตาม สูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ: การกำกับตนเอง • การให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง

 

Abstract

The purpose of this research was to study the effect of reality therapy group counseling on health care’s self-regulation of nurses in Sirikit hospital. The subjects of this study were nurses who were risk for metabolic syndrome which score starting below the 25th percentile. The samples were randomly assigned into the experiment group and control group, with 12 members in each group. The experimental group received the reality therapy group counseling program. The control group received the group work of Sirikit hospital. Data was collected by the self- regulation scale, developed from Bendura’s theory by researcher. Repeated Measures Analysis of Variance: One Between-subjects Variable and One Within-subjects Variable.

The results revealed that there was a statisticant interaction at 0.05 level between the method and the duration of the experiment. Nurse in Sirikit hospital who had self- regulation in the experimental group had higher self- regulation than those in the control group in the posttest and the follow-up phases with statisticant interaction of 0.05. Nurse in Sirikit hospital who had self-regulation in the experiment group had higher self- regulation in posttest and the follow-up phases than pretest statisticant interaction of 0.05.

Key Words: Self-Regulation • Reality Therapy Group Counseling

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)