ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของนักเรียนโรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก

Main Article Content

องค์อร ประจันเขตต์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักเรียนโรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก วิธีการวิจัยเป็นแบบสำรวจ (exploratory research) เก็บข้อมูลในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา จ.นครนายก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 120 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด พิสัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 63.33, 82.50 และ 53.33 ตามลำดับ ดังนั้น โรงเรียนหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมไปถึงผู้ปกครอง ควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกโดยเร็ว และปลูกฝังให้นักเรียนรวมทั้งประชาชนมีทัศนคติ เห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออกโดยชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ให้ความสำคัญกับการป้องกันมากกว่าการแก้ไขเมื่อเกิดโรคแล้ว และสร้างความตระหนักในการช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชนที่ต้องร่วมมือกัน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมลูกน้ำยุงลายในกลุ่มของนักเรียน และประชาชนให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นแกนนำในการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย นำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: ความรู้ • ทัศนคติ • การปฏิบัติตน • โรคไข้เลือดออก

 

Abstract

The purpose of this exploratory research was to study knowledge, attitude and practice toward prevention and control in dengue hemorrhagic fever. The sample size were 120 senior high school students at Khaopermnareepolwittaya school, Amphoe Banna, Nakhonnayok province whom selected by purposive sampling from January to June 2011. The demographic data, knowledge, attitude and practice toward prevention and control in dengue hemorrhagic fever were collected from the structured questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics namely frequency, percentage, mean and standard deviation.

The findings show that knowledge, attitude and practice toward prevention and control in dengue hemorrhagic fever of the sample were moderate level 63.33, 82.50 and 53.33 respectively. Therefore the school, the local administrative organization and health care providers should be paid on increasing proper knowledge rapidly and correct information to students and people in the community which will create the awareness, good attitude, setting up a workshop to improve practice and give the opportunity to the students as leader to campaign for sustainable prevention and control dengue hemorrhagic fever in the community

Key Words: Knowledge Attitude Practice Dengue hemorrhagic fever

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)