การเปรียบเทียบและติดตามระดับแรงจูงใจของนักเรียนพยาบาล ต่อการเข้าเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Main Article Content

ปราณี อ่อนศรี

Abstract

บทคัดย่อ

วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพหนึ่งที่เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาต่อ เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีงานทำที่แน่นอนและมีความมั่นคงจึงทำให้เป็นที่สนใจของนักเรียนที่สมัครเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แต่ในปัจจุบันพบว่าเมื่อพิจารณาจำนวนยอดผู้สมัครภาพรวมของประเทศในแต่ละสถาบันการศึกษามีแนวโน้มที่จะลดลงและในส่วนของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ซึ่งสังกัดกระทรวงกลาโหมพบว่ามีจำนวนผู้สมัครเข้ารับการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตลดลงอย่างเห็นได้ชัดตามปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2552-2554 จากจำนวน 6,000คน เป็น 3,870คน แรงจูงใจในการศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้นบุคคลมีความก้าวหน้าในด้านการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยครั้งนี้จะนำมาพิจารณาแนวโน้มของแรงจูงใจและใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก และนักเรียนพยาบาลเกิดแรงจูงใจในการเรียนจนประสบความสำเร็จในการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกก่อนและหลังเข้าเรียน 1 เดือน 6เดือน และ 12 เดือน ที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) วัสดุและวิธีการ : ศึกษาในนักเรียนพยาบาลกองทัพบกปีการศึกษา 2554 ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 48 จำนวน 78นาย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจตามทฤษฎีของมาสโลว์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ pair t-test ผลการวิจัย : แรงจูงใจของนักเรียนพยาบาลก่อนเข้าเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความมั่นคงหรือความปลอดภัย ด้านการยกย่องด้านความสำเร็จในชีวิต ด้านสังคม และด้านร่างกาย ตามลำดับแรงจูงใจหลังเข้าเรียน 1 เดือน 6เดือน และ 12 เดือนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.,3.93และ 3.76ตามลำดับและจากการศึกษาพบว่าแรงจูงใจก่อนและหลังเข้าเรียน 1 เดือน 6เดือน และ 12 เดือนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) บทวิจารณ์และบทสรุป : แรงจูงใจในภาพรวมของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังเข้าเรียน 1 เดือน 6เดือน และ 12 เดือนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก มีความแตกต่างกัน ซึ่งแรงจูงใจก่อนเข้าเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแรงจูงใจหลังเข้าเรียนหรือแรงจูงใจหลังเข้าเรียนมีค่าลดลงตามลำดับดังนั้น แนวโน้มแรงจูงใจที่ลดลงควรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมเพื่อเสริมแรงจูงใจ โดยทางวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงจูงใจได้มีโอกาสในการพัฒนาเพื่อให้นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 ได้มีแรงจูงใจที่ดีขึ้นต่อการเรียน การดำเนินวิถีชีวิตและการมุ่งสู่ความสำเร็จในชีวิตและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

คำสำคัญ: แรงจูงใจ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต นักเรียนพยาบาลกองทัพบก

Abstract

Background : Nursing education is very popular for the students who need to study in higher education. The students must be motivated to learn about nursing and motivation is the factor that stimulates students willing to learn. Nowadays,It was found that the amount of students who interested in studying in nursing trend to decrease. Thus,motivation toward studying in nursing is the most important to improve quality of nursing education as well as use for the guideline to enhancing student’s motivation. Objective : To study and comparison motivation level among nursing student before and after 1,6and 12 month toward studying at the Royal Thai Army Nursing College (RTANC). Research Design : Descriptive research Materials and Methods : A purposive sampling including 78nursing students of The Royal Thai Army Nursing college was obtained from the First year of the 2011 academic year. Questionnaire was used for collecting data. The data was analyzed by mean,standard deviation and pair t-test. Results : The mean of motivation among the nursing students before studying at the RTANC was 4.28the motivation questionnaire was composed of 5 parts. When focusing on each part,it was found that motivation in security and safety had the highest average score when comparing to the others. The motivation before and after studying 1,6and 12 month at the Royal Thai Army Nursing College was statistically different (p < 0.01). Conclusion : Nursing student’s motivation toward studying at The RTANC after studying 1,6and 12 month have average score lower than before studying. From the result,it must be enhanced motivation among nursing students. The Royal Thai Army Nursing College should be considered nursing students’ suggestion and use for the guideline to enhance motivation.

Key Words: Motivation Bachelor of Nursing Science Program Nursing students

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)