Bioequivalence of Glucosamine 1,500 mg Sachet in Healthy Thai Male Volunteers
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบอัตราและปริมาณการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายของยาผงกลูโคซามีนซัลเฟต ขนาด 1,500 มิลลิกรัมที่ผลิตโดยโรงงานเภสัชกรรมทหารเปรียบเทียบกันยาต้นแบบในขนาดเดียวกัน วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาแบบข้ามสลับแบบสองทาง (Two-Way Crossover Design with two-period, two-sequence and two-treatment) ในอาสาสมัครชายไทยสุขภาพดี 24 คน โดยอาสาสมัครแต่ละคนจะได้รับการสุ่มเพื่อให้ยาแต่ละตำรับ ระยะห่างของการศึกษาแต่ละครั้ง (wash out period) อยู่ที่ 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดในแต่ละครั้งของการศึกษาทั้งหมด 17 ครั้งตั้งแต่เวลา 0 ถึง 48 ชั่วโมง การวิเคราะห์หาปริมาณกลูโคซามีนในพลาสมาใช้ LC-MS/MS ตามวิธีการวิเคราะห์ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ผลการศึกษา: อาสาสมัครได้รับการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากแพทย์ในระหว่างการศึกษา ไม่พบรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง ค่าเฉลี่ย Cmax ของยาต้นแบบและยาที่ศึกษามีค่า 782.88 ng/mL และ 838.98 ng/mL ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย AUC0-t ของยาต้นแบบและยาที่ศึกษามีค่า 2,723.21 ng/mL และและ 2,719.95 ng/mL และค่าเฉลี่ย (AUC0-a) ของยาต้นแบบและยาที่ศึกษามีค่า 3,123.49 ng/mL และ 3,051.63 ng/mL ตามลำดับ สำหรับค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลศาสตร์ของ Tmax (AUC0-t /AUC0-a)% t1/2 และ Ke มีการรายงานผลและ ใช้ ANOVA ในการคำนวณค่าทางสถิติ สรุปผลการศึกษา: 90% confidence intervals สำหรับ log-transformed ratios (Test/Reference) ของค่า Cmax AUC0-t และ AUC0-a อยู่ในช่วง 80-125% จึงสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำการศึกษามีชีวสมมูลกันทั้งในแง่ของอัตราและปริมาณการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย
คำสำคัญ: Bioequivalence • Glucosamine • LC-MS/MS • Defence Pharmaceutical Factory
Abstract
Objvetive: To compare the rate and extent of absorption of generic glucosamine powder formulation manufactured by Defence Pharmaceutical Factory with that of a reference product when given as equal labeled doses. Materials and Methods: A randomized, open label, single dose, two-treatment, two-period, two-sequence crossover design with 14 days washout period between phase I and phase II dosing was performed in 24 subjects randomly selected from healthy Thai male volunteers. Seventeen blood samples were drawn from 0 to 48 h. Plasma glucosamine concentrations were assayed using a validated LC-MS/MS method. Results: All of enrolled volunteers completed the study. Safety assessment was monitored throughout the study period. Treatments were generally well tolerated. No serious adverse effects were observed. The mean Cmax for the reference and the test formulation were 782.88 ng/mL and 838.98 ng/mL, respectively. The mean AUC0-t was 2,723.21 ng/mL for the reference and 2,719.95 ng/mL for the test formulation while the mean (AUC0-a) were 3,123.49 ng/mL and 3,051.63 ng/mL, respectively. The secondary pharmacokinetic parameters; Tmax, (AUC0-t /AUC0-a) %, t1/2 and Ke were reported and ANOVA was used for statistical analyses. Conclusion: The 90% confidence intervals for the log-transformed ratios (Test/Reference) for the Cmax, AUC0-t and AUC0-a were within the 80-125%. Therefore, the bioequivalence in term of the rate and the extent of drug absorption of the two products can be concluded.
Key Words: Bioequivalence • Glucosamine • LC-MS/MS • Defence Pharmaceutical Factory