The Training of Dual Professionals via Evidence-Based Learning

Main Article Content

Kulnaree Sirisali
Sudarat Manochiopinij
Phantip Vattanaviboon
Sophon Sirisali
Wijit Wonglumsom

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเก็บสิ่งส่งตรวจมักจะเป็นพยาบาลหรือนักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งทั้งสองวิชาชีพต่างก็ได้รับการฝึกอบรมตามแนวทางของตนเอง ดังนั้นในบางกรณีอาจเกิดปัญหาการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่ถูกต้องจนเกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย วัตถุประสงค์ :ศึกษาผลจากการฝึกอบรมร่วมบุคลากร 2 วิชาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่ถูกต้องโดยใช้ evidence-based learning วิธีการศึกษา : จัดหลักสูตรการอบรมร่วมอย่างเป็นขั้นตอน รวม 12 ครั้งในรอบ 6 ปีโดยมีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งหมด 1,231 คน เป็นพยาบาล 861 คน นักเทคนิคการแพทย์ 302 คนและบุคลากรอื่นๆ 68 คน ทำการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และประเมินศักยภาพในการเก็บสิ่งส่งตรวจของผู้เข้ารับการอบรม ผลการศึกษา : ภายหลังการอบรมพบว่าศักยภาพในการเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยของผู้เข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และยังพบว่าวิธีการแก้ปัญหาผลกระทบจากการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ได้ประสิทธิภาพคือการทำงานเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างการอบรมจนเกิดเป็นเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน ได้ผลลัพธ์เป็นองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม สรุป : การจัดโปรแกรมอบรมร่วมสำหรับบุคลากร 2 วิชาชีพ นอกจากผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์แล้วยังเป็นการพัฒนาคณาจารย์ผู้จัดการอบรมจนเกิดการจัดการความรู้ที่ได้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรม

คำสำคัญ: การเก็บสิ่งส่งตรวจ • โปรแกรมการฝึกอบรม • วิธีการเรียนรู้โดยหลักฐานเชิงประจักษ์

 

Abstract

Background : In order to obtaining a quality test result, specimen collection plays an important role. There are 2 professions generally involved in specimen collection; nurse and medical technologist. They are trained and practiced on their own system; eventually, gap among them might sometime lead to problem that has impacted to the patient. Objective : To solve problems on specimen collection, we decided to do the dual profession co-training by the evidence-based learning method. Methods : A total of 12 sessions of 4 training process were offered continuously for 6 years. They were 1,231 participants; 861, 302, and 68 for nurses, medical technologists and others, respectively. An outcome of the training and their competency on specimen collection was assessed. Results : There was a great improvement on their competency after the co-training (p < 0.01). It was the best way on problem solving because it worked as pro-active process. In addition, there were transferred tacit knowledge between the two professions; a net-working also settled to co-operate for future issues. As the viewpoint of trainers, knowledge and experiences learned from the co-training dual profession lead to several outcome; three textbooks and teaching materials related specimen collection had been written. There were at least 2 projects developed under the co-operation between the two professions and presented in a national meeting contest. Conclusion : The beneficial gains from dual professionals co-training were not only increased the trainee competency but also the trainer knowledge management.

Key Words: Specimen collection • Co-training program • Evidence-based learning

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)