การพัฒนาการทำหน้าที่ครอบครัวของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้น โดยการปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัส

Main Article Content

ธิรดา พลรักษา
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ระพินทร์ ฉายวิมล

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการทำหน้าที่ครอบครัวของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้นโดยการปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัส เครื่องมือและวิธีการวิจัย วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบิดาและมารดา ที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้นและรับการรักษาที่โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ จำนวน 20 ครอบครัวที่มีคะแนนจากแบบวัดการทำหน้าที่ครอบครัวต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ผู้วิจัยสุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฏีโซลูชั่นโฟกัสจำนวน 6 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการทำหน้าที่ครอบครัวสำหรับบิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้นและโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัส แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีทดสอบรายคู่แบบนิวแมนคูลส์ (Newman-Keuls Procedure) ผลการวิจัย บิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้นที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัสมีการทำหน้าที่ครอบครัวในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระยะก่อนทดลอง ระยะทดลอง และระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการทำหน้าที่ครอบครัวเป็น 144.1, 165.2 และ 166.8 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 1.96, 9.07 และ 10.96 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนการทำหน้าที่ครอบครัวในระยะก่อนทดลอง ระยะทดลองและระยะติดตามผลเป็น 141.6 140.2 และ 139.4 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 2.06, 2.52 และ 1.64 ตามลำดับ

เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลองพบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนการทำหน้าที่ครอบครัวในระยะก่อนทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลองเป็น 144.1, 165.2 และ 166.8 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 1.96, 9.07 และ 10.96 ตามลำดับ

สรุปได้ว่า การปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัส ช่วยให้บิดามารดาที่มีบุตรเป็นโรคสมาธิสั้นที่ได้รับการปรึกษามีการทำหน้าที่ของครอบครัวดีขี้น

คำสำคัญ: การทำหน้าที่ครอบครัว • ทฤษฎีโซลูชั่นโฟกัส • บิดามารดาที่บุตรเป็นโรคสมาธิสั้น

 

Abstract

Objective: This research was to study about the effects of the solution-focused family counseling on family functioning development in parents of children with ADHD. Materials and Methods: The research was experiment design. Participants were the parents of children who are diagnosed with ADHD. Parents with average scores lower than 25th percentile were further randomly divided into two groups: 1) an experimental group consisted of 10 families and 2) a control group of 10 families. The experimental group received the solution-focused family counseling for intervention for 6 sessions in 6 weeks. The control group received routine counseling. The study was divided into 3 phases as follow: the pre-test, the post-test and the follow-up phase. All parents were participated into the pre-test phase in which the first set of the family functioning’s test was administered into each individual. After the intervention, both groups were tested using the second set of the family functioning’s test during the post-test phase. Two weeks later both groups were determined for family functioning development by being administered the third set of the test. Data were analyzed using repeated measure analysis of variance: one between-subject variable and one within subject variable. Paired differences among means were analyzed with the Newman-Keuls procedures. Result: The results revealed that the experimental group demonstrated significantly higher scores of the family functioning test than the control group when compared at the post-test and the follow-up phases at 0.05 level. In addition, Data collected from the experimental group showed an increase in scores of the family functioning test in both post-test and follow-up phases compared to those scores obtained at the pre-test phase.

Key Words: Family function • Solution-focused family counseling • Parent of children with ADHD

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)