การติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ชาญชัย ไตรวารี
อาคม สายแวว
รชต ลำกูล
กิตติ ต่อจรัส

Abstract

บทคัดย่อ

Febrile neutropenia เป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยขึ้นในโรงพยาบาลที่มีการใช้ยาเคมีบำบัด รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดต่างๆ อัตราการเกิด febrile neutropenia แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันโดยทั่วไปร้อยละ 48-60 ของผู้ป่วยที่มีภาวะ neutropenia และมีไข้จะพบว่ามี occult infection อยู่เสมอ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงชนิดของเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุ ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ (febrile neutropenia) วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (prospective descriptive study) โดยศึกษาในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มีภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2549 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 33 คน เกิด febrile neutropenia ทั้งหมด 60 ครั้ง (เป็นชายร้อยละ 66.7 เป็นหญิงร้อยละ 33.3) อายุเฉลี่ย (median age) 6.66 ปี (ตั้งแต่ 1-17 ปี) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมากที่สุดร้อยละ 88.4 ตำแหน่งของการติดเชื้อ ร้อยละ 18.9 ไม่สามารถหาตำแหน่งของการติดเชื้อได้ รองลงมาคือ Sepsis (ร้อยละ 17.8) Gastroenteritis (ร้อยละ 15.6) Pneumonia (ร้อยละ 10) และ Upper respiratory tract infection (ร้อยละ 10) โดยสามารถระบุเชื้อสาเหตุได้ร้อยละ 56.3 โดยพบเชื้อแบคทีเรียกรัมลบมากที่สุดร้อยละ 42.2 (พบเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มากที่สุด รองลงมาเป็นเชื้อ Escherichia coli และ Salmonella) พบเชื้อก่อโรคแบคทีเรียกรัมบวกร้อยละ 26.7 (พบเชื้อ Staphylococcus coagulase-negative มากที่สุด) เชื้อราร้อยละ 17.8 และเชื้อไวรัสร้อยละ 13.3 พบผู้ป่วยที่มี bacteremia ร้อยละ 28.3 ผู้ป่วยที่มี bacteremia จะมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 29.4 และเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบมากที่สุดร้อยละ 80 สรุป ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะ febrile neutropenia ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบมากที่สุดรองลงมาเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกเชื้อราและเชื้อไวรัสตามลำดับ ผู้ป่วยที่มี bacteremia จะมีอัตราการตายสูงดังนั้นการดูแลป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วย febrile neutropenia การให้การรักษาอย่างเร่งด่วน และการให้ยาต้านการติดเชื้ออย่างเหมาะสม และตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุจะช่วยลดการเกิด bacteremia และลดอัตราการตายในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะ febrile neutropenia ได้

Abstract

Background: Febrile neutropenia is a common complication in pediatric oncology. Different incidences of febrile neutropenia were reported in each institute, approximately 48-60 percent of febrile neutropenic patients have occult infections. Objective: To identify causative pathogens in childhood oncologic patients with febrile neutropenia at the Phramongkutklao Hospital. Methodology: A prospective descriptive study was carried out in less than 18-year-old oncologic patients presented with febrile neutropenia and were admitted at the Pediatric Department, Phramongkutklao Hospital from 1 August 2006 to 31 December 2008. Results: Thirty-three patients were studied, sixty episodes of febrile neutropenia were found (male, 66.7% and female, 33.3%), median age 6.66 years (age ranged 1-17 years). Their cancer diagnoses were acute leukemia (88.4%) and other cancers (11.6%). Source of infection included unidentified (18.9%), sepsis (17.8%), gastroenteritis (15.6%), pneumonia (10.0%), and upper respiratory tract infection (10%). Only 56.3% of patients had pathogens identified, gram negative bacteria 42.2% (the most common pathogen was Pseudomonas aeruginosa, followed by Escherichia coliand Salmonella), gram positive bacteria 26.7%, fungus 17.8%, and virus 13.3%. Bacteremia occurred in 28.3% and mortality was 29.4% (eighty percent from gram negative bacteremia). Conclusion: The most common pathogen in febrile neutropenic patients was gram negative bacteria and gram positive bacteria, fungus and virus, respectively. Since neutropenic patients with bacteremia had high mortality rate, prevention of infection, emergency management and proper antibiotics administration are essential to decrease risk of bacteremia and decrease mortality rate in those patients.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)