ความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีโดยใช้เครื่องตรวจอวัยวะ ด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ธรรมสถิตย์ จันทจิตร์
ชัชชาญ คงพานิช
นรเศรษฐฺ์ กิตตินรเศรษฐฺ์
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา ความรู้เกี่ยวกับความหลายหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีนั้น มีความสำคัญทางการแพทย์ เป็นอย่างมากเมื่อมีการผ่าตัดหรือหัตถการเกี่ยวกับท่อน้ำดี ซึ่งมีส่วนช่วยในวางแผนการรักษา และลดผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นวิทยุ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถบอกถึงความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีได้ เป็นอย่างดีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดี ด้วยเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณา โดยศึกษาย้อนหลังจากชุดภาพถ่ายผู้ป่วย ด้วยเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ในห้วงกุมภาพันธ์ 2553 ถึงตุลาคม 2554 จำนวน 93 ชุดภาพ (studies) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์จำแนก ประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วคำนวณวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติผลการศึกษา จากชุดภาพ ถ่ายผู้ป่วย 93 ชุดภาพ พบความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีในตับร้อยละ 29.03 โดยแยกเป็นแบบ right posterior duct เปิดรวมกับ left hepatic duct พบมากที่สุดร้อยละ 15.05 อันดับสองคือแบบ right posterior duct เปิดรวมกับ common hepatic duct ร้อยละ 6.4 อันดับสามคือแบบ triple confluence และแบบที่ซับซ้อนหรือไม่สามารถจำแนกประเภท ได้ ร้อยละ 3.22 อันดับสี่คือแบบ right posterior duct เปิดรวมกับ cystic duct ร้อยละ 1.08 ส่วนความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีนอกตับพบได้ร้อยละ 39.79 แยกเป็นแบบ proximal insertion พบมากที่สุดร้อยละ 32.56 แบบอื่นๆ พบได้น้อย ได้แก่ parallel course of cystic duct and common hepatic duct และ แบบที่ซับซ้อนหรือไม่สามารถจำแนก ประเภทได้ ร้อยละ 2.15 แบบ anterior spiral insertion, posterior spiral insertion และ low medial insertion ร้อยละ 1.08 นอกจากนี้พบว่า การพบความหลากหลายทางกายวิภาค ของท่อน้ำดีในตับ และการพบความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีนอกตับ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ความหลากหลายทางกายวิภาคของท่อน้ำดีนั้น สามารถตรวจพบได้ด้วยเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ และ การทราบถึงความหลากหลายทางกายวิภาคนี้ สามารถนำมาใช้ช่วยวางแผนการรักษาและลด ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหรือหัตถการเกี่ยวกับท่อน้ำดีได้

คำสำคัญ: ความหลากหลายทางกายวิภาค • ท่อน้ำดี 5 ปี • เครื่องตรวจอวัยอะด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ

 

Abstract

Background: The knowledge about variations of the biliary tree is very important in clinical practice. With the increase in recent years of biliary surgery and interventional procedures, recognition of these variations has assumed greater importance, to ensure safer and more accurate treatment planning. MRCP allows confident detection and classification of a variety of anatomic and incidental anomalies. Objective: The goal of this study is to describe anatomical variation of the biliary tree by MRCP at Phramongkutklao Hostpital. Material and Methods: A retrospective review of 93 MRCP studies at Phramongkutklao hospital from February 2010 to October 2011 was done to determine and classify the prevalence of each anatomical variation of the biliary tree. Result: Among 93 studies, MRCP demonstrated that 27 studies (29.03%) had anatomical variation of intrahepatic bile duct. The most common anatomical variation was right posterior duct joining with left hepatic duct, presented in 14 studies (15.05%). The second was right posterior duct joining with common hepatic duct, found in 6 studies (6.45%). The third was triple confluence and unclassified or complex anatomy, found in 3 studies (3.22%). The fourth was right posterior duct joining with cystic duct, found in 1 study (1.08%). The anatomical variation of extrahepatic bile duct was demonstrated in 37 studies (39.79%). The most common was proximal insertion of cystic duct, presented in 30 studies (32.56%). Other anatomical variations were found to be much less common. Parallel course of cystic duct and common hepatic duct, and unclassified or complex anatomy, were found in 2 studies (2.15%). Anterior spiral insertion, posterior spiral insertion, and low medial insertion, were found in 1 study (1.08%). Moreover, the correlation between the presence of anatomical variation of intrahepatic bile duct and the presence of anatomical variation of extrahepatic bile duct was noticed, with statistical significance. Conclusion: MRCP provides a reliable method to evaluate the anatomical variations of the biliary tree. Recognition of such variations is important in treatment planning and avoiding complication from biliary surgery and interventional procedures.

Key Words: Anatomical variation Biliary tree Magnetic resonance cholangiopancreatography

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)