อัตรารอดชีวิตรวมที่ 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ที่ทำการรักษาด้วยการฝังแร่อิริเดียม-192 อัตราปริมาณรังสีสูง ในแผนกรังสีรักษาของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

วรินทร ศิริกิจ
ประมุข พรหมรัตนพงศ์
ชาลี กนิษฐชาติ
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้รับมอบเครื่องใส่แร่อัตโนมัติด้วยเม็ดแร่กัมมันตรังสีซีเซียม-137(Cs-137) ควบคุมการเคลื่อนที่ของเม็ดแร่ด้วยคอมพิวเตอร์ (Buchler brachytherapy machine and remote control afterloading) ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ได้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเรื่อยมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนเม็ดแร่จาก Cs-137 มาเป็น อิริเดียม-192(Ir-192) อัตราปริมาณรังสีสูง (High dose rate; HDR) ข้อมูลเกี่ยวกับอัตรารอดชีวิตที่ 5 ปีหลังการเปลี่ยนเม็ดแร่ยังไม่มีการศึกษาที่แน่นอน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรักษา โดยพิจารณาจากอัตรารอดชีวิตรวมที่ 5 ปี และผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่อักเสบมีเลือดออก (Hemorrhagic cystitis, Hemorrhagic proctitis) วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 94 รายที่มาเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงและฝังแร่ด้วยอิริเดียม-192 ที่แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในช่วง ม.ค. 2548 ถึง ธ.ค. 2553 ผลการศึกษา อัตรารอดชีวิตรวมที่ 5 ปี (Five-year overall survival rate) ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังแร่อิริเดียม-192 ในแผนกรังสีรักษาของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คิดเป็นรอยละ 82.9 โดยพบอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี (Five-year survival rate) ในระยะที่ 1 ร้อยละ 100 ระยะที่ 2 ร้อยละ 84.6 ระยะที่ 3 ร้อยละ 80.8 ระยะที่ 4 ร้อยละ 80.0 สรุป การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังรักษาด้วยวิธีฉายแสงและฝังแร่ด้วยอิริเดียม-192 ที่แผนกรังสีรักษาของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามีอัตราการรอดชีวิตสูงเมื่อเทียบกับสถาบันอื่นในประเทศไทยและต่างประเทศ

คำสำคัญ: มะเร็งปากมดลูก อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อิริเดียม-192

 

Abstract

Background: Buchler brachytherapy machine and remote control afterloading with moving source cesium-137 was introduced to Phamongkutklao Hospital in 1988 and has been used for treatment of cervical cancer. After 2005, the moving source was changed to be iridium-192 HDR brachytherapy. The five-year survival rate have not been reviewed since 2005. Objective: To assess the five-year survival rate of cervival cancer patients who were treated by Irridium-192 HDR brachytherapy at radiotherapy department, Phramongkutklao Hospital. Material and Methods: This is a retrospective descriptive study of 94 patients who were confirmed histologic diagnosis of cervical cancer. They had complete treatment at radiotherapy department, Phramongkutklao Hospital. Results: The five-year overall survival rate was 82.9%. The five-year survival rates were 100%, 84.6%, 80.8%, and 80.0% for stage I, II, III and IV respectively. Conclusion: The five-year overall survival rate of cervical cancer patient who were treated by Irridium-192 HDR brachytherapy at radiotherapy department of Phramongkutklao Hospital was higher than other Thai hospitals.

Key Words: Cervical cancer • Five-year survival • Irridium-192

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)