ผลการรักษาด้วยไอโอดีนรังสี ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่มีค่าไทโรกลอบบูลินสูง แต่การตรวจสแกนทั่วร่างกายปกติ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด well differentiated จะได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด หลังจากนั้น ก็จะได้รับไอโอดีนรังสี (Radioactive iodine, RAI) ในปัจจุบันพบว่า ในระหว่างติดตามการรักษา มีผู้ป่วยหลายรายที่มีค่าไทโรกลอบ-บูลินสูงขณะหยุดไทรอยด์ฮอร์โมน (Tg-off) แต่การตรวจสแกนทั่วร่างกายปกติ แนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ว่าควรจะติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด หรือให้การรักษาด้วยไอโอดีนรังสี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างผลของระดับไทโรกลอบบูลินก่อนและหลังให้การรักษาด้วยไอโอดีนรังสี ปริมาณ 100-200 mCi ในกลุ่มในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด well differentiated หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดและตามด้วยสารกัมมันตภาพรังสีชนิดไอโอดีน ที่มีค่าไทโรกลอบบูลินสูงแต่การตรวจสแกนทั่วร่างกายปกติ ในระหว่างการติดตามการรักษา (Dx WBS) โดยเปรียบเทียบในกลุ่มผู้ป่วยที่มี Post treatment whole body scan (Tx WBS) ให้ผลบวกและให้ผลลบ ตามลำดับ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด well differentiated หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดและตามด้วยสารกัมมันตภาพรังสีชนิดไอโอดีน ที่มาเข้ารับการรักษา ที่แผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในห้วง มกราคม 2526 ถึง ธันวาคม 2553 ที่ติดตามการรักษาแล้วพบว่า มีค่าไทโรกลอบบูลินสูงแต่การตรวจสแกนทั่วร่างกายปกติ หลังจากนั้นได้รับการรักษาด้วย Empirical Therapeutic dose RAI ทั้งหมด 54 คน ผลการศึกษา มีจำนวนผู้ป่วยที่มีค่า Tg –off ไม่เปลี่ยนแปลง 4 คน Tg off ลดลง 33 คน และ Tg-off เพิ่มขึ้น 17 คน และมีผู้ป่วย Tx WBS ให้ผลลบ จำนวน 28 ราย และ Tx WBS ให้ผลบวก จำนวน 26 ราย การเปลี่ยนแปลงของค่า Tg ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผล Tx WBS (p = 0.756) ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของค่า Tg-off ของผู้ป่วยทั้งหมดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.029) ปัจจัยเรื่องของเพศและอายุไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่า Tg-off โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี มีแนวโน้ม Tx WBS ให้ผลบวก มากกว่ากลุ่มที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.007) ส่วนปัจจัยเรื่องเพศพบว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผลของ Tx WBS สรุป: การให้ empirical RAI มีประโยชน์ ในกรณีที่ช่วยลดค่า Tg off และผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี มีแนวโน้มที่จะมี Tx WBS ให้ผลบวก มากกว่าผู้ป่วยที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี หลังจากได้รับ RAI
คำสำคัญ: ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ • ค่าไทโรกลอบบูลินสูง • การตรวจสแกนทั่วร่างกายปกติ
Abstract
Background: In typical scenario, patients with well-differentiated thyroid cancer generally undergo total or near thyroidectomy, followed by administration of radioactive iodine (RAI). During follow-up period, a small portion of these patients were found to have high amount of thyroglobulin during LT4 withdrawal (Tg off) but negative diagnostic whole body scan (Dx WBS). The treatment guideline for patients in this category remains a subject of debate whether closed follow-up or empirical therapeutic dose RAI should be performed. Objective: To evaluate the difference between the level of Tg before and after administration of 100-200 mCi of empirical therapeutic dose RAI in patients with well-differentiated thyroid cancer that were found to have high Tg-off but negative Dx WBs by comparing patients with positive and negative post-treatment WBS (Tx WBS). Materials and Methods: The study is a retrospective analysis of well-differentiated thyroid cancer patients post total or near total thyroidectomy and RAI therapy who were found to have high Tg-off and negative Dx WBS. Fifty four patients were treated with empirical therapeutic dose RAI between January 1983 and December 2010 by nuclear medicine department at Phramongkutklao hospital. Results: Among 54 patients treated with empirical therapeutic dose RAI, 4 showed unchanged amount of Tg-off, 33 and 17 had decreased and increased amount of Tg off respectively. Twenty-eight patients were found to have negative Tx WBS and twenty-six were found to have positive Tx WBS. There is no significant correlation between the change of Tg and and Tx WBS (p = 0.756) of all patient. The median and mean of Tg-off in all patient decreased significantly (p = 0.029) after empirical therapeutic dose RAI was given. No apparent correlation between sex, age and the change in amount of Tg off is observed. Patients who are under 45 years of age have considerably more positive post-treatment WBS than those of 45 years of age or more (p = 0.007). There is no correlation between sex and result of Tx WBS. Conclusion: Administration of empirical therapeutic RAI can decrease the amount of Tg-off and is more likely to render positive Tx WBS in patients under 45 years of age than those of 45 years of age or more.
Key Words: Well-differentiated thyroid cancer • Detectable stimulated thyroglobulin • Negative diagnostic whole-body scanning