การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน ของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Main Article Content

ปราณี อ่อนศรี

Abstract

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจก็คือแนวคิดในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน การเชื่อมโยงการค้นพบทางด้านการเรียนรู้ของสมองกับการจัดการเรียนรู้เป็นฐานสำคัญที่จะทำให้สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ชัดเจนขึ้น การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสมองจะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วัสดุวิธีการ เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เพื่อนำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบ 2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3. การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ โดยทำการศึกษาในนักเรียนพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 ที่ศึกษารายวิชาการวิจัยทางการพยาบาล 1 แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 48 คน โดยใช้แบบแผนวิจัย pretest-posttest control group design และ 4. ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน โดยมีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ Dependent t-test เปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นวิธีเพื่อการผ่อนคลาย 2. ขั้นการใช้ผังมโนทัศน์ 3. ขั้นการถ่ายโยงการเรียนรู้ 4. ขั้นการบริหารสมอง 5. ขั้นการคิดไตร่ตรอง สำหรับประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล พบว่านักเรียนพยาบาลมีคะแนนความรู้ ก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) นักเรียนพยาบาลมีคะแนนเจตคติต่อวิชาการวิจัยทางการพยาบาล 1 ก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยรวมเท่ากับ 4.15 เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า นักเรียนพยาบาลกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้ และเจตคติต่อวิชาการวิจัยทางการพยาบาล1 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปและข้อเสนอแนะ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน นักเรียนพยาบาล

 

Abstract

Background: Brain-Based Learning is the learning theory that applied in nursing education. Thus, development of an instructional model is necessary. Brain-Based Learning needs to be used in learning activity for improvement learning among students. Objective: To develop and compare the effectiveness of an instructional model for enhancing brain-based learning among nursing students. Research Design: Research and development. Materials and Methods: The research procedure consisted of 4 stages as follows: Stage 1 Studying the basic data, ideas, theories from literatures to developing an instructional model for enhancing brain-based learning. Stage 2: Developing instructional Model. Stage 3: Implementing the instructional model with one class of 96 junior nursing students at The Royal Thai Army Nursing College during the third semester of 2010 academic year who took a course in Nursing Research 1. Pretest-Posttest Control Group Design was applied. The period of study was 16 hours. Stage 4: Evaluating the effective of instructional model. Data analysis was done by mean, standard deviation, dependent t-test, independent t-test and content analysis. Results: This study revealed that an instructional model for enhancing brain-based learning among nursing students contained 5 sequential steps: 1) Approach to relaxation, 2) Concept mapping, 3) Transfer of learning, 4) Operation to Brain-Gym, 5) Reflection. The effectiveness of an instructional model for enhancing brain-based learning among nursing students was found that there was significantly statistical difference in knowledge score toward Nursing Research 1 between before and after the intervention (p < 0.01). However, there was no significantly statistical difference in attitude score toward Nursing Research 1 between before and after the intervention. Focusing on satisfaction toward Nursing Research 1, it was found that mean score total of satisfaction toward Nursing Research 1 was higher than 3.5 (X = 4.15). There was no significantly statistical difference in knowledge score and attitude score toward Nursing Research 1 between treatment group and control group. Conclusion: As the result of this research and development, it could be concluded that the instructional model was effective. Therefore, this instructional model should be applied for the learning provision.

Key Words: Instructional model Brain-based learning Nursing student

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)