การศึกษาความสอดคล้องระหว่างการพบหินปูนที่บริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติค จากการตรวจทรวงอกด้วยเครี่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ กับการตรวจพบภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบจากการตรวจหัวใจ ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์หัวใจ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

เมธา อึ้งอภินันท์
กิตติพงษ์ นามใหญ่
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างการพบหินปูนที่บริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติคจากการทรวงอกด้วยตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์กับภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบด้วยการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์หัวใจ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา: รวบรวมภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยจำนวน 73 ราย (เป็นผู้ป่วยชายจำนวน 38 ราย และผู้ป่วยหญิงจำนวน 35 ราย) ที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง MDCT 64 สไลซ์ของทรวงอก และ ผลการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจของผู้ป่วยคนเดียวกัน โดยที่ทำการตรวจทั้งสองอย่างห่างกันไม่เกิน 3 เดือน ในห้วง เม.ย.52-ก.ค.53 แล้วทำการบันทึกความชุกและระดับของการพบหินปูนที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติคร่วมกับการพบหรือไม่พบภาวะลิ้นหัวใจตีบในแต่ละเพศและกลุ่มอายุต่างๆ จากนั้นทำการคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 15 ราย ที่พบหินปูนที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติคจากภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอกจากผู้ป่วยทั้งหมด 73 ราย ที่มีภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอกและผลอัลตราซาวด์หัวใจ ซึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 15 คน ดังกล่าวมีผู้ป่วยจำนวน 4 ราย ที่ตรวจพบภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบจากผลการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าหินปูนจากภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอกและภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบจากผลอัลตราซาวด์หัวใจมีความสอดคล้องในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.539, p<0.001) สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าหินปูนที่พบจากภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกเป็นสิ่งที่ตรวจพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ และการพบหินปูนที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติคจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของทรวงอกของผู้ป่วยมีความสอดคล้องกับการพบภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบที่ตรวจพบจากการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: การพบหินปูนที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติค ภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ เครื่องเอซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

 

Abstract

Objective: To evaluate the correlation between aortic valve calcification incidentally detected on chest multidetector computed tomography (MDCT) and aortic valve stenosis assessed by echocardiogram at Phramongkutklao Hospital. Methods: This retrospective study was approved by the institutional review board. The author identified 73 patients (38 men and 35 women) who underwent both chest MDCT and echocardiogram at Phramongkutklao Hospital within 3-month period, between April 2009 and July 2010. The prevalence of aortic valve calcification as well as visually-graded degree of aortic valve calcification, ranging from no calcification to extensive calcification, at chest MDCT were determined. CT findings were correlated with hemodynamic data obtained at echocardiogram. Patients without aortic stenosis were compared with patients with aortic stenosis using Spearman ‘s correlation for statistical analysis. Results: Of the 73 patients who were included in this study, aortic valve calcification was noted on the chest MDCT in 15 patients (20%). Four of these 15 patients with aortic valve calcification had aortic stenosis on echocardiogram. Significant correlation was observed between aortic valve calcification and aortic stenosis (r = 0.539, p < 0.001) Conclusion: From this study, aortic valve calcification was an incidental finding on chest MDCT in older patients. The aortic valve calcification on chest MDCT significantly correlates with aortic stenosis detected by echocardiogram.

Key words: Aortic valve calcification • Aortic stenosis • Multidetector Computed Tomography

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)