ภาวะสุขภาพจิตและทัศนคติของกำลังพลกองทัพบกที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อิศรา รักษ์กุล

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตและทัศนคติของกำลังพลกองทัพบกที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิธีการ :โดยสุ่มตัวอย่างจากกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 31 ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 259 ราย โดยให้ตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิต ทัศนคติเกี่ยวกับสาเหตุของความเครียด และทัศนคติต่อการเข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต ผลการศึกษา : ในเดือนที่สามของการปฏิบัติภารกิจ ผลการสำรวจภาวะสุขภาพจิต พบว่ากำลังพลมีความรู้สึกเครียดจำนวน 155 ราย (ร้อยละ 61.50) มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าจำนวน 85 ราย (ร้อยละ 34.55) มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจำนวน 48 ราย (ร้อยละ 19.67) มีกำลังพลที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากปัญหาเรื่องเครียดจำนวน 113 ราย (ร้อยละ 45.93) ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับสาเหตุของความเครียดได้แก่ปัญหาด้านการเงิน (ร้อยละ 62.20) ความปลอดภัยในชีวิต (ร้อยละ 57.93) ปัญหาครอบครัว(ร้อยละ 48.63) เป็นต้น ทัศนคติต่อการเข้ารับบริการด้านสุขภาพจิตมีอุปสร รคได้แก่การลาหยุด (ร้อยละ 64.35) การเดินทาง (ร้อยละ 56.03) สถานที่รับบริการจำนวน (ร้อยละ 46.15) เป็นต้น สรุป : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้สึกเครียดและต้องการได้รับความช่วยเหลือ โดยทัศนคติเกี่ยวกับสาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาด้านการเงินและความปลอดภัยในชีวิต ส่วนอุปสรรคในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพจิตพบว่าเป็นปัญหาการลาหยุดและการเดินทางมากกว่าปัญหาการกลัวเป็นตราบาปในการมารับบริการ

คำสำคัญ: กำลังพลกองทัพบก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะสุขภาพจิต ทัศนคติ

 

Abstract

Objective : To evaluate mental health status and attitudes of the army personnel who deployed for the peace building process in the southernmost provinces of Thailand. Methods : The 259 Royal Thai Army personnel of 31st Narathiwat Task Force at Narathiwat province, who were deployed for the peace building process, answered the questionnaires about mental health status and attitudes about mental health care. Results : The findings revealed that during the first three months of deployment, 155 (61.50%) were stressed, 85 (34.55%) were screened positive for depression, 48 (19.67%) were highly alcohol use, 113 (45.93%) were requiring some helps to solve their problems. The attitudes about factors contributing to stress were financial problem (62.20%), safety problem (57.93%), and family problem (48.63%). The attitudes about receiving of mental health care reported some obstacles in getting time off work (64.35%), transportation (56.03%), and the location of mental health services (46.15%), respectively. Conclusion : Based on findings, it could be concluded that most of army personnel were faced with currently experience a stress and requiring helps. The attitudes of receiving mental health care were about barrier of mental health care more than stigma of mental health care.

Key words: The Royal Thai army personnel • Southernmost provinces • Mental health status • Attitude

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)