ความรู้และทัศนคติของนักเรียนพยาบาลทหารต่อการบริจาคอวัยวะ

Main Article Content

ศรันยา กิจพาณิชย์
ชัญญ์ชญา ปิ่นมงคล
พัทธ์ชนก วิถีธรรมศักดิ์
ศุกรวรรณ สร้อยสนธิ์
สกุลรัตน์ ปราบจะบก

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของนักเรียนพยาบาลทหารต่อการบริจาคอวัยวะ วิธีการศึกษา: ทำการวิจัยในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดเหล่าทัพ คือ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือและวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กลุ่มประชากร คือ นักเรียนพยาบาลทหารจำนวน 862 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลชีวสังคม แบบวัดความรู้และแบบวัดทัศนคติ ผ่านการทดสอบคุณภาพมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลชีวสังคม ด้วยสถิติพรรณา ค่าความสัมพันธ์ใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไคสแควร์ (χ2) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา ประสบการณ์ในครอบครัวเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะตับ การได้รับข่าวสารจากญาติ มีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001, < 0.001, < 0.01 และ < 0.05 ตามลำดับ ส่วนเพศ การมีบัตรแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ประสบการณ์ในครอบครัวเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะจากผู้เสียชีวิตสมองตาย ประสบการณ์ในครอบครัวเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะตับ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะของนักเรียนพยาบาลทหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05, 0.001, < 0.05, < 0.001 และ < 0.05 ตามลำดับ และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะของนักเรียนพยาบาลทหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.01

คำสำคัญ: ความรู้ • ทัศนคติ • การบริจาคอวัยวะ

 

Abstract

Objective : The purpose of this descriptive research was to study the relationships between knowledge and attitude of military nursing student toward organ donation. Methods : The target population were 862 nursing students from the Royal Thai Arm Forced (RTAF) Nursing College. The research instruments were three forms of questionnaire; the personal data, the knowledge and attitude toward organ donation. The reliability was accepted as 0.80 and 0.86. The data were analyzed by using descriptive statistic, Chi-square test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Results : The knowledge of organ donation was significantly associated with the age (p < 0.001), year of studying (p < 0.001), experience of knowing someone in family donate liver(< 0.01), and data or information of donation receiving from relatives (p < 0.05). Attitudes toward organ donation was significantly associated with gender (p < 0.05), carrying donor card (p < 0.001), the experience of knowing someone in family was a deceased donor (p < 0.05) or living liver donation (p < 0.001). The correlation between knowledge and attitude toward organ donation are significant positive correlation (p < 0.01).

Key Words: Knowledge • Attitude • Organ Donation

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)