ความหลากหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้ง ของหลอดเลือดแดงใหญ่ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ ของทรวงอก ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ภูภูมิ วุฒิธาดา
อนุชิต รวมธารทอง
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ความรู้เกี่ยวกับความหลายหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่นั้นถือว่ามีความสำคัญทางการแพทย์เป็นอย่างมากเมื่อมีการทำหัตถการของหลอดเลือดแดงใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยและช่วยวางแผนการผ่าตัดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถบอกถึงความหลากหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงลักษณะความหลากหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ (branches of aortic arch) จากการตรวจทรวงอกของผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาย้อนหลัง จากชุดภาพถ่ายผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ของทรวงอกที่ฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือด ในห้วง ม.ค. 2552 ถึง ก.ค. 2554 จำนวน 296 ชุดภาพ (studies) โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก แล้วนำมาแปลผลเพื่อจัดหมวดหมู่ตามที่กำหนดไว้ แล้วนำมาคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการวิจัย: จากชุดภาพถ่ายผู้ป่วย 296 ราย พบความหลากหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ร้อยละ 20.3 โดยในจำนวนนี้พบความหลากหลายทางกายวิภาคแบบ common origin of the innominate and left common carotid arteries มากที่สุด ร้อยละ 12.8 พบอันดับที่สองคือความหลากหลายทางกายวิภาคแบบ left vertebral artery arising directly from the aortic arch ร้อยละ 4.4 และพบความหลากหลายทางกายวิภาคแบบ aberrant right subclavian artery และ thyroidea ima artery arising from aortic arch ร้อยละ 2.4 และ 0.7 ตามลำดับ สรุป: ความหลากหลายทางกายวิภาคของแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่สามารถตรวจพบได้โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ของทรวงอกที่ฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือด และการทราบถึงชนิดความหลากหลายทางกายวิภาคนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยในการวางแผนกำหนดวิธีการผ่าตัดและการทำหัตการอื่นๆที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดงใหญ่และแขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกมาจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการเหล่านั้นอีกด้วย

คำสำคัญ: ความหลายหลายทางกายวิภาค • แขนงหลอดเลือดแดงที่แยกออกจากส่วนโค้งของหลอดเลือดแดงใหญ่ • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

 

Abstract

Purpose: The knowledge about variations of branches of aortic arch is very important in medical practice. With the increase in recent years of thoracic aortic procedures, recognition of these variations has assumed greater importance, to ensure safer and more accurate endovascular and surgical planning. MDCT allows confident detection and classification of a variety of anatomic and incidental anomalies. Objective: The goal of this study is to describe anatomical variation of branches of aortic arch by 64 slices MDCT at Phramongkutklao Hospital. Material and Methods: A retrospective review of 296 thoracic MDCT studies at Phramongkutklao Hospital from January 2009 to July 2011 were done to determine the prevalence of each anatomical variation of branches of aortic arch. Result: Among 296 thoracic MDCT studies, the anatomical variation of branches of aortic arch are 20.3%. The most common anatomical variation of branches of aortic arch is common origin of the innominate and left common carotid arteries, presented in 12.8 %. The second is left vertebral artery arising directly from the aortic, found in 4.4%. The rest of aortic arch variants are aberrant right subclavian artery and thyroidea ima artery arising from aortic arch, presented in 2.4% and 0.7%, respectively. Conclusion: MDCT provides a reliable method to evaluate the anatomical variations of branches of aortic arch. Recognition of such variations is important in treatment planning of branches of aortic arch surgery and avoiding treatment complication.

Key Words: Anatomical variation • Branches of aortic arch • Multidetector computed tomography

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)