ประสบการณ์และการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก

Main Article Content

อรวรรณ จุลวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติและที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เหตุการณ์ล่าสุดของความขัดแย้งทางการเมืองก่อให้เกิดความไม่สงบในกรุงเทพมหานครในช่วงวันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ไม่เพียงแต่บุคลากรทีมสุขภาพของโรงพยาบาลเท่านั้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ นักเรียนพยาบาลกองทัพบก เป็นหนึ่งในทีมช่วยปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินดูแลผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ครั้งนี้เช่นกัน การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสบการณ์และการรับรู้ถึงสมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก การออกแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบบรรยาย ผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนพยาบาลกองทัพบกชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่มีประสบการณ์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ช่วงวันที่ 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 ณ. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า การดำเนินการวิจัย : แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 59 คน ตอบแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำนวน 25 ข้อ ระยะที่ 2 เชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากระยะที่ 1 โดยการสุ่มชั้นปีละ 10คน เข้ากลุ่มสนทนาแบบกลุ่ม (focus group) เกี่ยวกับการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินและประสบการณ์ที่ได้รับ ผลการวิจัย : ค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนนการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก เท่ากับ 2.20 (จากคะแนนเต็ม 3) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาค่าคะแนนการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินรายด้านพบว่าการรับรู้สมรรถนะด้านบุคลิกภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (x = 2.40) รองลงมาเป็นด้านจริยธรรมและกฏหมาย (x = 2.19) และด้านการปฏิบัติการพยาบาลและด้านการติดต่อประสานงาน (x =2.00) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณในทุกด้าน สรุปและวิจารณ์ : ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการปรับเนื้อหาการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และนโยบายการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยฝึกศึกษาและหน่วยให้บริการในการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก

Key Words: สมรรถนะการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน • นักเรียนพยาบาลกองทัพบก

 

Abstract

Introduction: Natural and man-made disasters appear to have become more prevalent, serious and continuous in recent decades. Recently, we have witnessed violent political demonstrations between March 10th and May 19th, 2010, in Bangkok. Many soldiers and civilians were injured. Not only were the primary health care teams and first responders involved with helping injured victims during these mass casualties, but army nursing students also took part in this situation. Thus, this research study’s purpose is to examine lived- experience and perception of emergency care competencies of army nursing students. Research Design: Descriptive research and combining quantitative and qualitative methods. Samples were selected by using purposive sampling technique with the following inclusion criteria: (1) the 3rd and 4th year nursing students, (2) must have been involved with helping victims injured during the violent political demonstrations. Methods: There were two phases: (1) quantitative data collection; 59 purposive samples completed, 25 items of perception emergency nursing competency questionnairs, (2) qualitative data collection, samples were selected from the samples of first phase with 10 samples in each group for focus group interviews. The focus group focused on lived-experience and perception emergency care competencies. Results: An overall average of perception emergency care competencies was 2.20 (total score was 3) which is in the moderate level. When looking at each part of the perception emergency care competencies, we found that Characteristics had the highest mean score (x = 2.40), Ethics and Laws related to practice (x = 2.19), Practice (x = 2.00), and Communication and Cooperation (x = 2.00) respectively. The qualitative results found supported overall quantitative results. Conclusion: This research finding will be a guideline for developing strategies for class -teaching, appropriate scenarios practicing, and an effective practicum in clinical settings. Moreover, the study findings will focus the attention of academic policy makers on the need to cooperate with other heath care facilities in promoting achievement of emergency preparedness in army nursing students.

Key Words: Perception emergency care competencies • Army nursing students

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)