ประสิทธิภาพของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิใน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

สัญชัย ประเสริฐเพชรมณี
บัญชา สถิระพจน์
อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการเนโฟรติกเป็นโรคไตที่มีการรั่วของโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ และมีการดำเนินโรคเข้าไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ ผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทยรักษาด้วยยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ โดยไม่ได้รับเจาะชิ้นเนื้อไต ดังนั้นการทราบถึงประสิทธิภาพของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิจึงมีความสำคัญ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลแบบติดตามผู้ป่วยย้อนหลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2552 ในผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิที่ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาด 0.5-1.0 มก./กก. นานอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผลการศึกษา: จากการรวบรวมผู้ป่วยจำนวน 72 ราย พบเพศชาย 50 ราย กับเพศหญิง 22 ราย อายุเฉลี่ย 39.58 ฑ 16.55 ปี พบโปรตีนในปัสสาวะเฉลี่ย 5.29 ฑ 2.35 กรัม/วัน และโคเลสเตอรอลในเลือดเฉลี่ย 459.33 ฑ 171.36 มก./ดล. ผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิ จำนวน 39 ราย ได้รับการตรวจชิ้นเนื้อไต พบเป็น IgM nephropathy (IgMN) 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.7, minimal change disease (MCD) 7 ราย คิดเป็นร้อยละ9.7, IgA nephropathy (IgAN) 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.1, membranous nephropathy 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.7, focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.6 และ membranoproliferative glomerulonephritis 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.4 ค่าของระยะเวลาการตอบสนองเฉลี่ยเท่ากับ 9.00 ฑ 1.22 สัปดาห์ หลังการรักษา 16 สัปดาห์ ผู้ป่วย 66 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.7 ตอบสนองต่อการรักษา และผู้ป่วย 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.3 ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในกลุ่มที่ตอบสนองต่อการรักษาพบว่า ตอบสนองแบบสมบูรณ์ ร้อยละ 79.2 และตอบสนองบางส่วน ร้อยละ 12.5 โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีผลพยาธิสภาพไตชนิด MCD, lg MN, lg AN และ FSGS ตอบสนองแบบสมบูรณ์สูง ร้อยละ 85.7, 83.3 และ 75.0 ตามลำดับ โรคปอดบวมเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบบ่อยสุดคือ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.5 สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษานี้แสดงให้ว่ายาคอร์ติโคสเตียรอยด์มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดีในผู้ป่วยเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิ ทั้งกลุ่มที่ไม่ได้เจาะชิ้นเนื้อไต และกลุ่มผู้ป่วย MCN, IgMN, FSGS และ IgAN โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาในช่วงระยะเวลา 8-16 สัปดาห์

คำสำคัญ: กลุ่มอาการเนโฟรติก • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด • ตอบสนองแบบสมบูรณ์ • ตอบสนองบางส่วน

 

Abstract

Background: Nephrotic syndrome (NS) is common disorders in which the kidneys are damaged, leading to end-stage renal disease. While the most of treatment for primary NS was initiated without a kidney biopsy in primary care center of Thailand. It is important to establish a reliable corticosteroid treatment regimen for primary NS.

Methods: Adults primary NS patients receiving prednisolone at a dose of 0.5-1 mg/kg/day at least 8 weeks at Phramongkutklao Hospital between 1999 and 2009 were studied. We retrospectively reviewed the clinical response after corticosteroid treatment. Results: Seventy-two patients (50 males and 22 females) with primary NS were included in the study. The mean age was 39.58 ± 16.55 years. Mean proteinuria and serum total cholesterol was 5.29 ± 2.35 g/day and 459.33 ± 171.36 mg/dl, respectively. Renal biopsy was performed in 39 patients, and histopathology revealed IgM nephropathy (IgMN) 12 patients (16.7%), minimal change disease (MCD) 7 patients (9.7%), IgA nephropathy (IgAN) 8 patients (11.1%), membranous nephropathy 7 patients (9.7%), focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) 4 patients (5.6%), and membranoproliferative glomerulonephritis 1 patient (1.4%). Mean response duration to corticosteroid was 9.00 ± 1.22 weeks. At 16 weeks, 66 patients (91.7 %) and 6 patients (8.3%) responsed and resist to corticosteroid treatment, respectively. In responders, complete and partial remission was 79.2% and 12.5%, respectively. Most patients with primary NS responded with complete remission at 16 weeks were MCD (85.7%), IgMN (83.3%), IgAN (75.0%) and FSGS (75.0%). Pneumonia was the most frequent major complication of treatment that were observed in 4 patients (5.5%). Conclusion: The results from the present study in a substantial number of patients firmly establish the efficacy of corticosteroid in the treatment of primary NS, especially for unknown histology, MCN, IgMN, FSGS and IgAN. The clinical improvement of patients initially was achieved occur with corticosteroid.

Key Words: Nephrotic syndrome • Corticosteroid • Complete remission • Partial remission

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)