ลักษณะอาการทางคลินิก และพยาธิวิทยาทางไตในผู้ป่วยโรคไตอักเสบ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

บัญชา สถิระพจน์
นริศรา อภัยจิตต์
อุปถัมภ์ ศุภสินธ์

Abstract

บทคัดย่อ

ข้อมูลทางระบาดวิทยาถึงลักษณะอาการ อาการแสดงทางคลินิกของโรคไตอักเสบเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรคไตอักเสบ จากหลายการศึกษาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะอาการทางคลินิกกับพยาธิสภาพไตในผู้ป่วยไตอักเสบ โดยผลดังกล่าวมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากร วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลอาการแสดงทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และลักษณะทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยโรคไตอักเสบจำนวน 166 ราย โดยการคัดเลือกผู้ป่วยจากฐานข้อมูลผู้ป่วยไตอักเสบที่ได้ทำการตรวจพยาธิสภาพไตในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2552 โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 18-40 ปี อายุ 41-60 ปี และ อายุ >60 ปีขึ้นไป ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตอักเสบมาด้วยกลุ่มอาการ nephrotic syndromeร้อยละ 40.4 กลุ่มอาการ nephrito-nephrotic syndrome ร้อยละ 28.3 และกลุ่มอาการ nephritic syndrome ร้อยละ 18.7 จากลักษณะพยาธิสภาพไตพบว่า IgA nephropathy (IgAN) เป็นโรคไตอักเสบส่วนใหญ่ในกลุ่มอายุ 18-60 ปี พบร้อยละ 33.3-43.1 และ membranous nephropathy (MN) เป็นโรคไตอักเสบส่วนใหญ่ในกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี พบร้อยละ 75.0 ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ nephritic syndrome, nephrito-nephrotic syndrome และ nephrotic syndrome พบพยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็น IgAN, lupus nephritis (LN) และ MN ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ rapidly progressive glomerulonehritis มีผลพยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็น LN และ IgAN สรุปผลการศึกษา: จากความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิก กับพยาธิวิทยาทางไตในผู้ป่วยโรคไตอักเสบในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้านี้ คาดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคไตอักเสบในสถานพยาบาลที่ไม่สามารถทำการตรวจชิ้นเนื้อไตได้

คำสำคัญ: โรคไตอักเสบ • กลุ่มอาการเนโฟรติก • กลุ่มอาการเนไฟรติก • พยาธิสภาพไต

 

Abstract

Background: The knowledge of the epidemiology of biopsied renal diseases and the clinical syndrome provide useful information in clinical practice. There are several epidemiologic population-based studies of biopsy-proven glomerular disease with detailed clinicopathologic correlations that could be different according to the country analyzed. Methods: A retrospective study has obtained data from 166 cases with native biopsy-proven renal diseases and well-known clinical syndrome during a 4-years period of 2006 to 2009 in adult patients were investigated the clinical and the result of renal biopsy and analyzed for the correlation and prevalence of primary and secondary glomerular disease. Patients were divided in three groups according to age: 18–40 years old, 41-60 years old and > 60 years old. Results: The most common clinical syndrome is nephrotic syndrome (40.4 %) followed by nephritonephrotic syndrome (28.3%) and nephritic syndrome (18.7%).The frequencies of histologic findings are different in all syndromes according to age. IgA Nephropathy (IgAN) is the most frequent finding in age group of 18 – 60 years old (33.3-43.1%), whereas in age group > 60 years old, membranous nephropathy (MN) (75.0%) is the most prevalent. The histologic findings of nephritic syndrome, nephrite-nephrotic syndrome and nephrotic syndrome are IgAN, lupus nephritis (LN) and MN, repectively. The histologic findings of rapidly progressive glomerulonephritis are LN and IgAN. Conclusion: The finding of clinicopathologic correlation of glomerular disease in Phramongkutklao Hospital might be applied with the patients who were glomerular disease in the another center that unable to perform the renal biopsy for making appropriate and beneficial way of management in the future.

Key Words: Glomerular disease • Nephrotic syndrome • Nephritic syndrome • Renal pathology

 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)