การเปรียบเทียบความหนาแน่นของมวลกระดูกของทหารกองประจำการปีที่ 2 และทหารกองประจำการใหม่ โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์วัดกระดูกส้นเท้า

Main Article Content

ธรรม์พงษ์ รังสิภัทร์
กิตติพงษ์ นามใหญ่
ณรงค์ชัย ศรีอัศวอมร
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความหนาแน่นของมวลกระดูกของทหารกองประจำการปีที่ 2 ที่ได้รับการฝึกทหารมาแล้ว 2 ปี และทหารกองประจำการใหม่ที่ยังไม่ได้รับการฝึก โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์วัดกระดูกส้นเท้า เครื่องมือและวิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ประชากรที่ศึกษาคือทหารกองประจำการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานจำนวน 40 คน มีอายุระหว่าง 22-23 ปี แบ่งเป็นกลุ่ม case คือ ทหารกองประจำการปีที่ 2 จำนวน 20 คน กลุ่ม control คือ ทหารกองประจำการใหม่จำนวน 20 คน โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์วัดที่ส้นเท้าขวา เพื่อหาค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก ค่าการลดลงของสัญญาณและค่า ความเร็วของคลื่นเสียง วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของมวลกระดูกของทั้ง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน โดยใช้สถิติ ทดสอบ ที แบบไม่จับคู่ ผลการวิจัย : พบว่าทหารกองประจำการปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่ากับ0.69 (gm cm-2) และสำหรับทหารกองประจำการใหม่มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่ากับ 0.45 (gm cm-2) ทหารกองประจำการปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงกว่าทหารกองประจำการใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ: ความหนาแน่นของมวลกระดูก • ทหารกองประจำการ • เครื่องอัลตร้าซาวด์

 

Abstract

Objectives : This study aimed to compare bone mineral density between 2nd year privates who have exercised for 2 years and new privates who have never exercised by using calcaneal quantitative ultrasound. Materials and methods : The subjects are consisted of 40 healthy privates, age ranging from 22 to 23 years which were divided into two groups: 20 second year privates as studying case and 20 new privates as control group from antiaircraft artillery division. The instrument for bone mineral density measurement is quantitative ultrasound (QUS) device. The bone mineral density (BMD), Broadband Ultrasound Attenuation (BUA) and Speed of Sound (SOS) were measured at the right calcaneus. The statistical method for analyzing the data was unpaired t-test. Results : The mean BMD (gm cm-2) of 2nd year privates and new privates were 0.69, 0.45 respectively. These findings indicated that the BMD of the 2nd year privates were significantly higher than the new privates at P < 0.001. So the soldier training program has benefit to increase bone mineral density.

Key words: Bone Mineral Density • Private • Ultrasound

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)