ทัศนคติด้านการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกายของกำลังพล กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติต่อการออกกำลังกายและมีสมรรถภาพทางกายของกำลังพลของกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกระมงกุฎเกล้า และใช้ติดตามดูความก้าวหน้าของการเสริมสร้างสุขภาพของกำลังพลกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตลอดจนอาจที่จะนำมาใช้ เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของกำลังพลหน่วยอื่นในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และอาจสามารถนำมาใช้กับกองทัพไทยต่อไปได้ วิธีการวิจัย : วิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยมีประชากร 117 ราย ซึ่งเป็นกำลังพลของกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย : พบว่า กำลังพลกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีการออกกำลังกายร้อยละ 80 และมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อจะให้มีสุขภาพดีร้อยละ 82 และกำลังพลมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย แต่มีกำลังพลที่มีสมรรถภาพด้านความทนทานของระบบไหลเวียนของโลหิตและหายใจ (Cardiopulmonary Endurance) สูงกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานประชากรไทยทั่วไปในช่วงอายุเท่ากันเพียงร้อยละ 41.8 สรุป : โอกาสในการพัฒนา คือ ควรสร้างแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้น มีกิจกรรมส่งเสริมมากขึ้น ให้เวลากำลังพลในวันพุธบ่าย เพิ่มอุปกรณ์และปรับปรุงสถานที่ ขยายเวลาใช้ห้องเวชศาสตร์การกีฬาในช่วงเย็น มีตัวชี้วัดที่ประเมินสม่ำเสมอ เพื่อให้กำลังพลกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อไป
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย • สมรรถภาพทางกาย • ทัศนคติ
Abstract
The objective of this research is to gain the information of attitude to exercise attitude and cardiopulmonary endurance fitness in staff of Rehabilitation Department at Phramongkutklao Hospital. The result of this study will be used for follow-up the fitness status of the staff and may be a benefit in order to develop the guideline implication to improve cardiopulmonary endurance fitness of the Royal Thai Army (RTA) Officers.
This research is a quantitative research. The population consist of 117 staffs of the Rehabilitation Department at Phramongkutklao Hospital. The Questionnaire was created as the primary tool which was validated and tested for reliability. The data was analyzed by using a computer program for the result of frequency, percentage, means, and standard deviation.
The resulsts of this research were found as followed. There are 80% of the staffs of the Rehabilitation Department who exercise and 82% who understand about exercise for health. The attitude to exercise is very good but the cardiopulmonary endurance fitness status is above normal Thai population in the same group is only 41.8%.
The suggestions are to increase motivation and exercise activities, use the afternoon of Wednesday for exercise, prepare more exercise equipments and exercise space, make the fitness room available in the evening, and regular fitness testing.
Key words: Exercise • Cardiopulmonary endurance • Attitude