ผลการฟื้นฟูสภาพร่างกายของทหารพิการจากสถานการณ์ความรุนแรง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2551

Main Article Content

ฐานะวัฒน์ โตชัยวัฒน์
วิภู กำเหนิดดี
ราม รังสินธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูสภาพร่างกายของทหารพิการซึ่งได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 2547 - 2551 รูปแบบงานวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณา ประชากรที่ทำการศึกษา : ทหารไทย สังกัดกองทัพบก ผู้มีความพิการทางร่างกายจากภารกิจต่อต้านผู้ก่อความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547–2551 และได้ผ่านการฟื้นฟูจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา : สืบค้นข้อมูลทหารบาดเจ็บจากฐานข้อมูลทุติยภูมิ สัมภาษณ์อาการบาดเจ็บเบื้องต้นทางโทรศัพท์ จากนั้นทำการนัดหมายอาสาสมัคร ณ ภูมิลำเนาของอาสาสมัครเพื่อประเมิน 1) ความครบถ้วนสมบูรณ์ของโปรแกรมการฟื้นฟูที่ได้รับจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และการดูแลตนเองที่บ้าน เปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดโดยราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2) ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรหลักและการเคลื่อนที่ เปรียบเทียบระดับความสามารถของทหารพิการกับเป้าหมายการฟื้นฟู ผลการศึกษา : มีทหารบาดเจ็บจนถึงขั้นพิการทุพพลภาพ 33 นาย อยู่ในกลุ่มศึกษา25 นาย อาสาสมัคร 22 นาย (ร้อยละ 88) ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูที่โรงพยาบาลอย่างครบถ้วน อาสามัคร 10 นาย (ร้อยละ 40) ดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง อาสาสมัคร 18 นาย (ร้อยละ 72) ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรหลักได้อย่างสมบูรณ์ 5 นาย (ร้อยละ 20) เดินได้อย่างปกติ อาสาสมัคร 21 นาย (ร้อยละ 84) มีระดับความสามารถเป็นไปตามเป้าหมายการฟื้นฟู ทั้งการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรหลักและการเคลื่อนที่ (เดิน/ใช้รถเข็นนั่ง) สรุป : ความยากลำบากในการเดินและการวิ่งเป็นปัญหาหลักของทหารพิการจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทหารพิการร้อยละ 16 มีระดับความสามารถต่ำกว่าเป้าหมายการฟื้นฟู เนื่องจากปัญหาการใช้ขาเทียม สภาพบ้านไม่เอื้ออำนวย และการช่วยเหลือที่เกินความจำเป็นของผู้ดูแล การจัดตั้งระบบติดตามช่วยเหลือทหารพิการหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูทหารพิการได้

คำสำคัญ: ทหารบาดเจ็บ • ทหารพิการ • การฟื้นฟู

 

Abstract

Objective : To study physical rehabilitation outcomes in soldiers with disabilities from violent situation in the Southernmost Thailand during 2004-2008. Design : Descriptive study Participants : Royal Thai Army officers with physical disabilities due to anti-terrorist operations in Yala, Pattanee and Narathivas Provinces during 2004-2008 who obtained rehabilitation program from Phramongkutklao Hospital. Methods : List of traumatized soldiers were collected from secondary database. Primary assessment was undertaken by telephone interview. Direct interview and physical examination were carried out at the participants’ native habitat to evaluate 1) Completeness of rehabilitation program including home program obtained from Phramongkutklao Hospital based on the standard of the Royal College of Physiatrist. 2) Performance in activities of daily living (ADL) and ambulation compared with individual’s rehabilitation goal. Results : There were 33 traumatized soldiers with disabilities. Twenty-five were recruited. Twenty-two participants (88%) obtained complete rehabilitation program. Ten (40%) continued home program completely. Eighteen (72%) were independent in ADL. Five (20%) were able to walk normally. Twenty one (84%) achieved rehabilitation goals both for ADL and ambulation (walk/wheelchair). Conclusion : Difficulties in walking and running were major problems among soldiers with disabilities from the southernmost Thailand situation. Sixteen percent failed to achieve rehabilitation goals because of the prosthetic problems, improper home environment and over assistance from care givers. Establishment of the office to assist those veterans after discharged from hospital might improve rehabilitation outcomes for soldiers with disabilities.

Key words: Traumatized soldier • Soldier with disability • Rehabilitation

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)