การศึกษาความแม่นยำของเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบ ที่ไม่มีการแตกทะลุของไส้ติ่ง แยกจากภาวะที่มีการแตกทะลุของไส้ติ่งอักเสบ ในผู้ป่วยที่อาการทางคลินิกไม่แน่ชัด

Main Article Content

ธรรมพงษ์ รังสิภัทร์
โชตินันทน์ พิริยนันทน์
บุษบง หนูหล้า
ศรีเรือน ชุณหชาติ
อนุชิต รวมธารทอง
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแม่นยำของการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีการแตกทะลุของไส้ติ่งอักเสบ แยกจากภาวะที่มีการแตกทะลุของไส้ติ่งอักเสบ และศึกษาความสอดคล้องในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบที่มีการแตกทะลุของรังสีแพทย์ เครื่องมือและวิธีการวิจัย : ภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วย 19 คน (ผู้ป่วยชาย 9 คน) ผู้ป่วยหญิง 10 คน; อายุเฉลี่ย 47.6 ปี ; พิสัยของอายุระหว่าง 4-86 ปี) ที่มาด้วยปวดท้องที่ห้องฉุกเฉิน หรือแผนกศัลยกรรมจะถูกนำมาอ่านโดยรังสีแพทย์ 2 ท่าน โดยอ่านแยกกัน และทราบประวัติผู้ป่วยเฉพาะมาด้วยปวดท้อง และได้รับการผ่าตัดไส้ติ่ง (Independent and blinded) ภาพรังสีที่พบและความมั่นใจในการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบที่มีการแตกทะลุหรือไม่ จะลงบันทึกไว้ จากนั้นรังสีแพทย์ท่านที่ 3 จะเป็นผู้ตัดสินการวินิจฉัย โดยอ่านผลแยกจากรังสีแพทย์ทั้งสองท่านและไม่ทราบผลมาก่อน ความสอดคล้องในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบที่มีการแตกทะลุของรังสีแพทย์ 3 ท่าน จะนำมาคำนวณโดยใช้ค่า Kappa ผลการวิจัย : พบผู้ป่วย 7 คน จากทั้งหมด 19 คน (36.8%) ที่มีไส้ติ่งอักเสบแตกทะลุ โดยคำนวณความไวของเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยจากการแปลผล (consensus review) ได้ ร้อยละ 87.5 ความจำเพาะเจาะจง ร้อยละ 72.7 และความแม่นยำร้อยละ 78.9 โดยใช้ภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ Extraluminal gas และ abscess เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่รังสีแพทย์ใช้ในวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบที่มีการแตกทะลุ โดยมีความแม่นยำร้อยละ 100 และ 85.7 ตามลำดับ และความสอดคล้องกันในการวินิฉัยของรังสีแพทย์แต่ละท่านอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับดี

คำสำคัญ: ความแม่นยำ • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ • ภาวะไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีการแตกทะลุ

 

Abstract

Purpose : To determine retrospectively the accuracy of computed tomography (CT) in differentiating acute non-perforated appendicitis from perforated appendicitis and determine agreement among readers for the diagnosis of appendiceal perforation. Materials and Methods : Two radiologists were blinded to patient identification but were informed that all patients presented to the emergency department with abdominal pain and underwent appendectomy. Radiologists independently reviewed single detector row CT images of 19 patients (9 males, 10 females; mean age 47.6 years; age range 4-86 years). Individual findings and confidence level for the diagnosis of perforated appendicitis were noted. Consensus interpretation was performed with a third radiologist. The agreement among radiologists for the diagnosis of appendiceal perforation were calculated by using Kappa. Result : The perforated group comprised 7 of the 19 patients (36.8%). Sensitivity for diagnosis of perforated appendicitis was 87.5%, specificity was 72.7%, and accuracy was 78.9% on consensus review. Extraluminal gas and abscess were statistically significant indicators for diagnosis of perforation and had an accuracy of 100% and 85.7% respectively. The agreement among readers were moderate to substantial agreement. Conclusion: Extraluminal gas and abscess were statistically significant indicators for diagnosis of perforation with moderate to substantial agreement among readers.

Key words: Accuracy • Computed tomography • Acute non-perforated appendicitis

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)