เปรียบเทียบผลของยาพารีค็อกซิบและมอร์ฟีนต่ออัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
พารีค็อกซิบถูกนำมาใช้ร่วมกับมอร์ฟีนในการลดอาการปวดหลังการผ่าตัด เพื่อลดผลข้างเคียงของยามอร์ฟีนด้านกดการหายใจ แต่ยากลุ่ม NSAIDs มีผลต่อการทำงานของไตโดย ลดอัตราการไหลเวียนเลือดที่ไต อัตราการกรองของไต นอกจากนี้ยังมีผลต่อการขับออกของปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียม วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลของยาพารีค็อกซิบและมอร์ฟีนต่ออัตราการกรองของไตในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก วิธีการศึกษา : สุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกจำนวน 21 คนอายุตั้งแต่ 20 ถึง 65 ปี (อายุเฉลี่ย 52.33 ฑ 13.74 ปี) แบ่ง เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับยาพารีค็อกซิบ 40 มิลลิกรัม (10 ราย) และกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีน 3 มิลลิกรัม (11 ราย) เก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ก่อนผ่าตัดและในชั่วโมงที่ 2 หลังได้รับยาฉีดเพื่อลดอาการปวดหลังการผ่าตัด ประเมินผลด้านของอัตราการกรองของไตโดยใช้สูตร Abbreviated MDRD และผลของระดับยูเรียไนโตรเจนครีแอทินีน โซเดียม โพแทสเซียมและซิสตาติน ซี ในเลือด รวมทั้งระดับครีแอทินีน โซเดียมและโพแทสเซียมในปัสสาวะ ผลการศึกษา :เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับ พารีค็อกซิบกับมอร์ฟีนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านอัตราการกรองของไต แต่มีระดับของโซเดียมในเลือดที่ชั่วโมงที่ 2 หลังได้รับยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.035) ส่วนระดับของยูเรียไนโตรเจน ครีแอทินีน โพแทสเซียมและซิสตาติน ซีในเลือด ระดับของครีแอทินีน โซเดียมและโพแทสเซียมในปัสสาวะ ไม่แตกต่างกัน สรุป : ในการศึกษานี้พบว่า การให้พารีค็อกซิบ 1 ครั้งไม่พบผลต่ออัตราการกรองของไตเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้มอร์ฟีน อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นงานวิจัยในช่วงเวลาสั้น กลุ่มตัวอย่างแคบ ควรศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของการทำงานของไตในประชากรกลุ่มใหญ่ขึ้น
คำสำคัญ: เอ็นเซ็ด • อัตราการกรองของไต • พารีค็อกซิบ • มอร์ฟีน
Abstract
Parecoxib have been used with morphine for controlling post-operative pain, to minimize the severity of morphine related respiratory depression. However, NSAIDs can caused renal effects such as decrease in renal blood flow, glomerular filtration rate, sodium and potassium excretions. Objective : to compare the immediate effects of parecoxib versus morphine on glomerular filtration rate (GFR). Method : Twenty-one patients undergoing total hip arthroplasty (THA), aged 20-65 years (mean age 52.33 ± 13.74 years) were enrolled into this study. The patients were randomly devided into 2 groups, parecoxib group (n=10) and morphine group (n=11). GFR were calculated by Abbreviated MDRD equation. Blood and urine sample were collected to determine serum blood urea nitrogen and cystatin C, serum and urinary sodium, potassium and creatinine at baseline and 2-hour after the drug administration. Results : no significant difference in GFR between the 2 groups was found. Serum sodium level at 2 hour post-dose were significant different between groups (p=0.035). Blood urea nitrogen, serum cystatin C, serum and urinary creatinine, potassium and urinary sodium not significant. Conclusion : comparing with morphine, the single dose parecoxib had no significant immediate effect on GFR. Further study should be conducted in larger population and in long term use of parecoxib.
Key words: NSAIDs • GFR • Parecoxib • Morphine