การศึกษาวิเคราะห์ผู้ป่วยที่ประสพอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่รับไว้ที่หอผู้ป่วย ไฟไหม้น้ำร้อนลวก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ : ความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยทั้งในเรื่องลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราการอยู่ในโรงพยาบาลอย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีความรุนแรง อัตราการเสียชีวิตยังคงสูงอยู่ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่ประสพอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่อายุมากกว่า 15 ปีที่รับไว้ที่หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาผู้ป่วยที่รับไว้รักษาที่หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก (burn unit) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในระหว่างช่วงเวลาเดือน ตุลาคม 2542 ถึง กันยายน 2548 เป็นระยะเวลาที่ศึกษาย้อนหลังประมาณ 6 ปีผลการวิจัย : ผู้ป่วยทั้งหมด 74 ราย ชาย 61 ราย (ร้อยละ 82.43) หญิง 13 ราย (ร้อยละ 17.57) มีผู้เสียชีวิต 13 ราย (ร้อยละ 17.57) อุบัติเหตุจากเปลวไฟมีมากที่สุด 36 ราย (ร้อยละ 48.65) ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท พื้นที่ผิวที่ถูก burn โดยเฉลี่ยของผู้เสียชีวิต (13 ราย) มีค่า ร้อยละ 50.04 และของผู้รอดชีวิตมีค่า ร้อยละ 19.63 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.81) อยู่โรงพยาบาลน้อยกว่า 1 เดือน โดยเฉลี่ยผู้ป่วย 1%burn จะอยู่โรงพยาบาลประมาณ 1.41 วัน พบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ ผู้ป่วย flame burn (129,939 บาท/คน หรือ 4,122 บาท/1%burn) หรือ electrical burn (100,414.59 บาท/คน หรือ 7,204.63 บาท/1%burn) สรุป: ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นผู้ป่วยระดับตติยภูมิที่รับผู้ป่วยอาการหนักทั้งโดยตรงและรับย้ายจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยพบว่าเป็นผู้ป่วยรับการรักษาต่อจากโรงพยาบาลอื่น 45 ราย (ร้อยละ 60.81) ช่วงวัยทำงานมีอุบัติการณ์การเกิด burn มากที่สุด (ร้อยละ 54.05) อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในบ้านหรือที่พักอาศัยและมักไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพเพราะฉะนั้นการให้ความรู้แก่ประชาชนรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องยังเป็นสิ่งจำเป็น
คำสำคัญ: ไฟไหม้ • น้ำร้อนลวก
Abstract
Background : Improvements in Burn care during the last two decades call for decreasing mortality, length of hospital stay. However, incidence of mortality in extensive burn injury has still high. The Aim of the study was to study the characteristics of patients with Burn injury on Admission to Burn unit in Phramongkutklao Hospital.Methods : Descriptive study in patients who were treated for burn injury in Burn unit from October 1999 to September 2005. A multivariate linear stepwise regression model was fitted to the data to predict mortality rate Results : In 6 years of study, total 74 patients (61 male ,13 female) were included. The most common cause of burn was flame (48.65%) and it also carried the highest cause of death (76.92%). Non-survivors were 13 patients (17.57%). Non-survivors’ mean burn size was 50.04% of TBSA which were higher significant to survivors’ mean burn size (19.63% of TBSA). Most of length of hospital stay was less than one month (60.81%). The average hospital stay for one percent burn area was 1.41 days. Average for cost of treatment had still high especially in flame burn (129,939 Baths/ person or 4,122 Baths/1% burn) and electrical burn (100,414.59 Baths/ person or 7,204.63 Baths/1% burn) Conclusion : Burn unit in Phramongkutklao hospital were tertiary care that admitted patients with burn injury both directly and referred from other hospital. Most common of patients were young adult. Most common cause was careless and occurred in residency which did not relate to occupation. Preventive measure must be coordination on a national level.
Key words: Burn patients • Burn unit