Satisfaction Evaluation on Annual Physical Examination Services for Army Personnel Provided by Armed Forces Research Institute of Medical Sciences

Main Article Content

Pajongjit Kasemkijwattana
Duangporn Phulsuksombati
Thanita Wongjinda
Prangchai Settachan

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความพึงพอใจของกำลังพล ทบ. ต่อการบริการตรวจร่างกายประจำปีของ สวพท. ณ ที่ตั้งหน่วย วัสดุและวิธีการ : การศึกษาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ กำลังพล ทบ. ในหน่วยทหารเขต กทม. และปริมณฑล ที่ได้เข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี ตามโครงการ “การบริการตรวจร่างกายประจำปี และการส่งเสริมสุขภาพทหาร” ในปีงบประมาณ 2551 เลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) จำนวน 378 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.96 ผลการศึกษา : กำลังพลส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 76.6) นายทหารชั้นประทวน (ร้อยละ 49.5), อายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 39.8) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 70.5) จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 59.3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท (ร้อยละ 55.6) และเคยรับบริการตรวจร่างกายประจำปีโดย สวพท.มาก่อน (ร้อยละ 91.1) กำลังพลมีความพึงพอใจต่อการบริการตรวจร่างกายประจำปีของ สวพท. โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.3±0.5) ส่วนในรายด้านซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอัธยาศัยในการบริการ ด้านการได้รับข้อมูลและความสะดวก และด้านความพร้อมและความเพียงพอในการให้บริการ กำลังพลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.3±0.6) มาก (ค่าเฉลี่ย 4.2±0.6) และมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.3±0.5) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจตามคุณลักษณะที่ต่างกันได้แก่ เพศ ชั้นยศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และจำนวนครั้งที่เคยมาใช้บริการ พบว่ากำลังพลมีความพึงพอใจต่อการบริการตรวจร่างกายประจำปีของ สวพท.ไม่แตกต่างกัน สรุป : การบริการตรวจร่างกายประจำปีแก่กำลังพล ทบ. เป็นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ทำให้กำลังพลสามารถเข้าถึงบริการได้โดยสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ทำให้กำลังพลมีความพึงพอใจต่อบริการดังกล่าวในระดับมากถึงมากที่สุด โดยเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจตามคุณลักษณะของกำลังพลที่ต่างกัน พบว่ามีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: Satisfaction • Physical examination • Army personnel

 

Abstract

Objective : To evaluate satisfaction on annual physical examination services for army personnel provided by Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS). Materials and Methods : A cross-sectional study was conducted during the annual physical examination in fiscal year 2008 from 378 army personnel selected by stratified random sampling technique. Data were collected by self-rating questionnaire that had tested construct validity by factor analysis and the Cronbach’s alpha coefficient reliability was 0.96. Results : Most of them were men (76.6%), non-commissioned officer (49.5%), at the age between 41-50 (39.8%), married (70.5%), undergraduated (59.3%), with average income between 10,001-20,000 baht/month (53.6%), and used to participate in this services (91.1%). Overall, courtesy aspect, information and convenience aspect, and readiness and adequacy aspect satisfaction of the army personnel were at the highest (mean ± SD = 4.3±0.5), highest (mean ± SD = 4.3±0.6), high (mean ± SD = 4.2±0.6), and highest level (mean ± SD = 4.3±0.5), respectively. There was no significant difference in satisfaction when compared with gender, rank, age, marital status, educational level, income, and number of participating time. Conclusion : Proactive services at military units have been served many aspects of needs for army personnel including accessibility, convenience, and timesaving. Therefore, those services have been satisfied at high to highest level and personal characteristics did not related with satisfaction.

Key words: Satisfaction • Physical examination • Army personnel

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)