การพัฒนาพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ของบิดามารดาที่มีบุตรวัยรุ่นโดยการให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยม

Main Article Content

สุพิชฌาย์ เพ็ชรสดใส
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ระพินทร์ ฉายวิมล

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ของบิดามารดาที่มีบุตรวัยรุ่นโดยการให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยม เครื่องมือและวิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นบิดาและมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 20 ครอบครัว รวม 40 คน ที่มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 สุ่มให้เป็นกลุ่มทดลอง 10 ครอบครัว จำนวน 20 คน และเป็นกลุ่มควบคุม 10 ครอบครัว จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ของบิดามารดาที่มีบุตรวัยรุ่นและโปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ดำเนินการทดลองโดยให้การปรึกษาครอบครัว จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองประเภทสององค์ประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งองค์ประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี่11 ผลการวิจัย : บิดาและมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นที่ได้รับการให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์สูงกว่าบิดาและมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บิดาและมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นที่ได้รับการให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยมมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างจาก ระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ: พฤติกรรม • การควบคุมอารมณ์ • บิดามารดาที่มีบุตรวัยรุ่น • การให้การปรึกษาครอบครัวแนวพฤติกรรมนิยม

 

Abstract

Objective : This research aimed to study the development of emotional control behavior in parents who have teenager by behavioral family counseling. Materials and Methods : The research was experiment design. The sample composed of twenty families (forty persons) who have teenager in meuang district, Chachoengsao province. The samples had emotional control behavior score. Less than 25th percentile. The sample random sampling method adopted to assign sample into two groups: an experimental group and a control group with ten families. The instruments which were used in this research were the measurement test of emotional control and the behavior family counseling. The intervention was administered for 10 sessions. Each session lasted about sixty minutes. The research design was two-factors experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into 3 phases: the pre-test phase, the post-test phase and the follow-up phase. The data were analyzed by repeated measure analysis of variance: one between - subject variable and one within-subjects variable and were tested to pair differences among mean by Bonferroni Procedure.11 Result : The results revealed that there was a statistically significant interaction at 0.05 level between the method and the duration of the experiment. The levels of the emotional control behavior in parents who have teenager in the experimental and the control groups were significantly different at 0.05 level when measured in the post-test and the follow-up phases. The levels of emotional control behavior in parents who have teenager in the experimental group in the post-test and the follow-up phases were significantly different at 0.05 level from in the pre-test phase.

Key words: Behavior • Emotional control • Parents who have teenager • Behavioral family counseling

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)