การเปรียบเทียบผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดย วิธีแป๊บสเมียร์และวิธีเซลล์บล็อก

Main Article Content

ณัฐศิริ สุวรรณรัตน์
สุทธิดา อินทรบุหรั่น
ธารา พูนประชา

Abstract

วัตถุประสงค์: การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีตรวจแป๊บสเมียร์กับการตรวจเซลล์บล็อค ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าชนิดของการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบวินิจฉัยโรคสถานที่ทำการวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอก กองสูตินรีเวชกรรม,ห้องผ่าตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า,ห้องตรวจส่องกล้องปากมดลูก, แผนกเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา กองพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าวิธีการวิจัยสตรีที่มารับการตรวจแป๊บสเมียร์ ที่ยังมีปากมดลูกเหลืออยู่ที่แผนกผู้ป่วยนอก กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 – 30 พฤษภาคม 2555  จำนวน 122 รายบันทึกข้อมูล และเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกโดยแพทย์ที่ออกตรวจแผนกผู้ป่วยนอก กองสูตินรีเวชกรรม เพื่อตรวจแป๊ปเสมียร์ และเซลล์บล็อก ทำการเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแป๊บสเมียร์ กับการตรวจวิธีเซลล์บล็อกโดยนำมาเปรียบเทียบกับผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อปากมดลูก ผลการวิจัย: สตรีที่เข้าร่วมโครงการ 122 คน โดยผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในช่วงอายุเฉลี่ย 39 ปี มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุเฉลี่ย 22 ปี ส่วนใหญ่ เป็นสตรีที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปีจำนวน70 ราย( ร้อยละ57.38) ผลการตรวจระหว่างวิธีเซลล์บล็อกและวิธีแป๊บสเมียร์ พบมีความเข้ากันได้จำนวน116ราย (ร้อยละ95.05) ผลเซลล์วิทยาที่ผิดปกติจากการตรวจ 8 ราย มีผลเซลล์วิทยาที่ผิดปกติด้วยวิธีเซลล์บล็อกจำนวน 4 รายและ ผลเซลล์วิทยาที่ผิดปกติจากการตรวจด้วยวิธีแป๊บสเมียร์ จำนวน 6 ราย โดยเมื่อเปรียบเทียบกับผลชิ้นเนื้อพบว่าวิธีเซลล์บล็อกไม่สามารถตรวจพบ CIN I 1 ราย ,CIN III 1 รายและ สองรายที่ผลชื้นเนื้อวินิจฉัย SCC. สรุป: มีความสอดคล้องกันของเซลล์วิทยาที่ได้จากการตรวจโดยวิธีเซลล์บล็อกและวิธีแป๊บสเมียร์ แต่ยังมีข้อจำกัดในกระบวนการทำเซลล์บล็อกจึงพบมีความผิดพลาดไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์มะเร็งได้ ในอนาคตหากมีการศึกษาในกลุ่มประชากรที่มากขึ้น และศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงกระบวนการทำเซลล์บล็อกเพื่อแก้ไขข้อจำกัด อาจเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูกได้

Compare Cervical Cancer Screening result by Papanicolaou Smear Technique and Cell Block Technique

Objective: To compare the cervical cytologic result by Pap smear technique and cell block technique at Phramongkutklao Hospital Study design: Descriptive study (diagnostic test) Setting: Department of Obstetrics and Gynecology and Army institute of pathology Methods: One hundred and twenty-two women attending gynecological clinic of Phramongkutklao Hospital from July 2011 to May 2012 for cervical cancer screening underwent a conventional Pap smear and cell block preparation. Cytological reports of both modalities were based on The Bethesda System (2001). The women with cellular abnormalities were further investigated by colposcopic directed biopsy(CDB). The agreement of cytological results derived from both techniques was analyzed. Main outcome measures: Correlation of Pap smear technique and Cell Block Technique for cervical cancer screening Results: Out of 122 women recruited to the present study, mean age was 38.78 years, mean age of 1st intercourse was 22 years, and the majority attended for routine health check up was 57.38 %. An agreement of Pap smear diagnoses with cell block diagnoses was feasible in 116/ 122 cases (95.08%). Among 8 cases of abnormal histological examination, 6 cases and 4 cases were diagnosed as abnormal cells on Pap smear and cell block preparation, respectively. Cell block missed 1 case of cervical intraepithelial neoplasia (CIN) I, 1 case of CIN III, and 2 cases with squamous cell carcinoma (SCC). Conclusion: A high correlation was achieved between Pap smear and Cell Block technique. With regards to few missing cases of precancerous and cancerous lesion, we do not recommend using cell block as cervical cancer screening tool in our setting until an improvement in cell preparation could be accomplished. 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)