ความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิวต่ำหลังให้ยาเคมีบำบัดแพ็คลิแท็กเซลร่วมกับคาร์โบพลาตินในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

นัตยา บัวทุม
สุทธิดา อินทรบุหรั่น

Abstract

วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกของการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิวต่ำ ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุ ที่ได้รับยา แพ็คลิแท็กเซลและคาร์โบพลาติน ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าชนิดของการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังสถานที่ทำการวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอก, ห้องเวชระเบียนกองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าวิธีการวิจัยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวที่ได้รับยาเคมีบำบัดแพ็คลิแท็กเซลร่วมกับคาร์โบพลาตินในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ มกราคม 2551 ถึง มกราคม 2556 รวมทั้งสิ้น 135 คนจากแฟ้มประวัติและแฟ้มผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช โดยข้อมูลของภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิวต่ำจะถูกคัดเลือกเข้ามาเพื่อนำมาเข้าการศึกษาผลการวิจัย: จากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวที่ได้รับยาเคมีบำบัดแพ็คลิแท็กเซลร่วมกับคาร์โบพลาตินในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา พบว่าผู้ป่วย 55 คน (ร้อยละ40.7) เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิวต่ำ โดยแบ่งเป็นกลุ่มรุนแรงน้อยร้อยละ 34.8, รุนแรงมากร้อยละ 5.9และจากการศึกษาพบว่าภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิวต่ำมักพบในรอบที่ 4 หรือหลังจากนั้นของการรับยาเคมีบำบัดสรุป: ความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิวต่ำ หลังให้ยาเคมีบำบัดแพ็คลิแท็กเซลร่วมกับคาร์โบพลาตินในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวคือร้อยละ 40.7 แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงน้อย มีเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มที่มีความรุนแรงมากซึ่งอาจต้องการ การดูแลเพิ่มเติม เช่น การยืดระยะเวลาให้ยาเคมีบำบัดครั้งต่อไป

Prevalence of Neutropenia after receiving Paclitaxel plus Carboplatin in Epithelial Ovarian Cancer Patients in Phramongkutklao Hospital

OBJECTIVE: To reveal the prevalence of neutropenia toxicity in epithelial ovarian cancer patients who received Paclitaxel plus Carboplatin in Phramongkutklao hospital STUDY DESIGN: Retrospective descriptive study SETTING: Department of Obstetrics and Gynecology, Phramongkutklao Hospital MATERIALS AND METHODS: Retrospective review of medical records and tumor registries of 135 patients with epithelial ovarian cancer who treated with Paclitaxel plus Carboplatin in Phramongkutklao hospital from January 2008 to January 2013. Data of neutropenia toxicity was determined and extracted for the study. RESULT: 135 patients with epithelial ovarian cancer who met the study criteria were treated with Paclitaxel plus Carboplatin during the period. 55 patients (40.7%) were developed neutropenia toxicity. Neutropenia was generally mild with 34.8% of patients, 5.9% of patients with severe neutropenia. Our study usually found neutropenia was occurred at the 4th cycle of chemotherapy or after that. CONCLUSION: The prevalence of neutropenia in epithelial ovarian cancer patients who treated with Paclitaxel plus Carboplatin was 40.7%. However most of the cases were mild degree. Only 5.9% of all patients were the severe cases that will have further management such as delay next cycle of chemotherapy. The prevalence of grade IV neutropenia is similar to others studys.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)