ความชุกของสตรีอายุ 40-90 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก ในชุมชนบ้านนางาม ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้ FRAX® Score

Main Article Content

ณัฐพล ศิริซอสกุล
กิตติศักดิ์ ว่องไว
กฤษฎิ์ ทิพย์ชัยเชษฐา
กัลย์กมล ตามใจจิตร
คณินธัช เสนจันทร์ฒิไชย
จุฑามาศ เกียรตินฤมล
ณัฐณิชา ขจรวิทยา
ณัฐพงศ์ ใจซื่อ
ณัฐริณีย์ นาคศุภมิตร
ธัญญา ปลูกผล
ธนัท เงาเอกสิทธิ์
นภรัก ชาญบูรณวัชร
รัฐกร ใจวิถี
ศิริวรรณ วิจิตรพันธ์
สมชาย พัฒนอางกุล
สุรกิจ ยิ่งยืนยง
สุธี พานิชกุล

Abstract

ความเป็นมา: โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาที่เปรียบเสมือนภัยเงียบซึ่งคุกคามสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพศหญิง นำมาซึ่งผลแทรกซ้อนต่างๆมากมายแต่ที่พบได้บ่อยคือการเกิดกระดูกหัก ปัจจุบันมีการใช้ [Fracture Risk Assessment Tool (FRAX ®)] เข้ามาประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักซึ่งสามารถทำได้ง่ายในทุกพื้นที่ มีค่าใช้จ่ายน้อย มีความแม่นยำและความไวสูง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหักและศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดกระดูกหักในสตรีชุมชนบ้านนางาม ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราที่มีอายุตั้งแต่ 40-90 ปีโดยใช้ FRAX®score รูปแบบการวิจัย: Cross-sectional study วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลในสตรีที่มีอายุ 40-90 ปี ในชุมชนบ้านนางาม ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับประชากรทุกคนที่เข้าได้กับเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการวิจัย การแปลผลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป FRAX ®version Thai ตาม WHO ในการทำนายความน่าจะเป็นในการเกิดกระดูกหัก ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ การถดถอย         โลจิสติกแบบพหุนาม (Multiple Logistic Regression)ผลการวิจัย: มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 285 คน จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 294 คน คิดเป็นร้อยละ 96.9 โดยมีช่วงอายุระหว่าง 40-90 ปี (Mean±SD = 56.2±11.1) พบความชุกของสตรีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหักทั้งสิ้น 37 ราย(ร้อยละ 13) โดยปัจจัยที่มีผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูง ได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพที่เคลื่อนไหวน้อย (3.5 เท่า) ผู้ที่มีระยะเวลาการให้นมบุตรเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เดือน (1.04 เท่า) และระยะเวลาที่หมดประจำเดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 13 ปี (14.1 เท่า) สรุป: การใช้เครื่องมือ FRAX® พบความชุกของการเกิดกระดูกหักในผู้หญิงอายุ 40-90 ปีในชุมชนชนบทน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นๆและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักคือ ระยะเวลาของการหมดประจำเดือน อาชีพที่เคลื่อนไหวน้อย และระยะเวลาเฉลี่ยในการให้นมบุตรความชุกของสตรีอายุ 40-90 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก ในชุมชนบ้านนางาม ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้ FRAX®score

Prevalence of 40-90 year-old women with high risk of fracture in Baan nagnarm community, Takradarn, Sanhamchaiket, Chachoengsao province using FRAX®

Background: Osteoporosis and fracture are serious problems. Risk of osteoporosis and fracture will increase another 2-3 times more in the next 10 years due to increasing elderly population. FRAX® is effective and beneficial for populations in rural communities for assessing fracture risk and analyzing for risk factors. Objective: To determine the prevalence of fracture risk and the risk factors for high risk fracture in women 40-90 years in a Thai rural community. Study design: Cross-sectional study Materials&methods: Data was obtained from women 40-90 years in Baan nagnarm community, Takradarn, Sanhamchaiket, Chachoengsao. 10-year probability of major osteoporotic fracture and hip fracture were predicted using FRAX® and separated into high risk and low risk.Risk factors of high risk were assessed by Multiple Logistic Regression with Backward (Wald) model. Results: Of 294 women, 285 were included. Prevalence of high risk was 13%. The factors associated with high risk are sedentary occupations, who are 3.5 more at risk than heavy work occupations. Breast feeding had 1.04 times more risk for every month of breast feeding and duration of menopause for 13 years or more are 14.1 times more at risk than menopause for less than 13. Conclusion : This study shows that the prevalence of high risk of fracture in women aged40-90, living in rural community, determined by FRAX®  is relatively low compared with that in other study. Furthermore, using multiple logistic regression, we assessed associations between high risk of fracture and risk factors – duration of menopause sedentary occupation and duration of breastfeeding. Using FRAX® for screening high risk population in rural, controlling of risk factors, and appropriate lifestyle modification for prevent fragility fracture should be promoted to minimize the physical and financial burdens of fragility fractures in the elderly.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)