ผลการรักษาทารกน้ำหนักน้อยมาก: ประสบการณ์ 10 ปี ของโรงพยาบาลกระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ธนสินี เนียมทันต์
แสงแข ชำนาญวนกิจ

Abstract

บทนำ:  ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1500 กรัม เป็นกลุ่มทารกที่มีอัตราตายและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง  การทบทวนผลการรักษาจะมีประโยชน์ในการค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องและเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ให้ดียิ่งขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม วิธีดำเนินการวิจัย: ทบทวนย้อนหลังสถิติจากฐานข้อมูลของหน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือนตุลาคม 2545 และ กันยายน 2555 (10 ปี)  เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตจนกลับบ้านและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ผลการศึกษา:  ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม จำนวน 301 ราย รอดชีวิตจนกลับบ้าน 244 ราย (ร้อยละ 81.06)  อัตราการรอดชีวิตจะสูงขึ้นเป็นสัดส่วนกับน้ำหนักแรกเกิดที่เพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของทารก ได้แก่  โรคปอดขาดสารลดแรงตึงผิว (ร้อยละ 37.54) โรคหัวใจ patent ductus arteriosus (ร้อยละ 34.88) โรคถุงลมปอดรั่ว (ร้อยละ 3.32) ภาวะเลือดออกในสมองชนิดรุนแรง  (ร้อยละ 4.98)  ภาวะลำไส้อักเสบขาดเลือด (ร้อยละ 10.96) โรคปอดเรื้อรัง  (ร้อยละ 25.29) และโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนดชนิดรุนแรง  (ร้อยละ 2.68) ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายสูงกว่าทารกน้ำหนัก 1,000-1,499 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ทารกรับย้ายจากโรงพยาบาลอื่น มีแนวโน้มเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าทารกเกิดในโรงพยาบาล สรุปผล: ทารกน้ำหนักน้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม เป็นทารกที่มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง การพัฒนาการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นที่การลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทารกในระยะยาว การส่งต่อมารดาที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกเกิดก่อนกำหนดอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในทารกกลุ่มนี้

Outcome of very low birth weight infants: 10-year experiences at Phramongkutklao Hospital

Background:   Morbidity and mortality in infants of birth weight less than 1,500 grams (very low birth weight, VLBW) has remained higher than those in any other group of infants. Review of the outcome of treatment is worthwhile for identify the associated problems and for improving newborn services for this group of infants. Objectives: To analyze the survival and morbidity rates in VLBW infants Methodology: We retrospectively reviewed database of the newborn unit at Phramongkutklao Hospital between October 2002 and September 2012 (10 years) to analyze the survival and morbidity rates in VLBW infants. Results: During the study period, there were 301 VLBW infants. Two-hundred and forty-four of them (81.06%) survived until discharge. The survival rate improved according to increasing birth weights. The important morbidity included respiratory distress syndrome (37.54%), patent ductus arteriosus (34.88%), pneumothorax (3.32%), severe intraventricular hemorrhage (4.98%), necrotizing enterocolitis (10.96%), chronic lung disease (25.29%) and severe retinopathy of prematurity (2.68%). The morbidity and mortality in infants of birth weight less than 1,000 grams were significantly higher than those in infants weighted 1,000-1,499 grams. In addition, there was a trend to increase morbidity in infants referred from other hospitals compared to those born in hospital. Conclusion: Morbidity rate was high among VLBW infants especially those of birth weight less than 1,000 grams. To improve neonatal care for this group of infants, we should minimize the important complications which have effects on their long-term outcome. Transportation in utero should be also emphasized for reducing their morbidity.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)