คุณภาพชีวิตการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

วิภาพร มั่นปาน
พรรณทิพา ศักดิ์ทอง

Abstract

คุณภาพชีวิตการใช้ยาเป็นการประเมินผลลัพธ์อย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แต่เนื่องจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตในปัจจุบันไม่ไวต่อผลของการรักษาด้วยยา อีกทั้งแบบประเมินคุณภาพชีวิตการใช้ยาที่มีอยู่ไม่เป็นที่รู้จัก จึงทำให้ยังไม่มีการศึกษาคุณภาพชีวิตการใช้ยา วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตการใช้ยา และข้อมูลพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 356 คน ระหว่างมิถุนายน 2557 – มีนาคม 2558 โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการใช้ยา PROMPT-QoL ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์ของครอนบาคแอลฟา โดยมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังร้อยละ 61.5 ต้องการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน มีคะแนนคุณภาพชีวิตการใช้ยาโดยรวมเท่ากับ 56.3±19.9 คะแนน และข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้คุณภาพชีวิตการใช้ยาอยู่ในระดับสูง ได้แก่ เพศหญิง อายุต่ำกว่า 50 ปี จบการศึกษาตั้งแต่มัธยมปลายขึ้นไป จำนวนรายการยาที่ใช้ต่อวันต่ำกว่า 5 รายการ สามารถควบคุมโรคได้ดีถึงดีมาก และไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา สรุปและวิจารณ์: คุณภาพชีวิตการใช้ยาโดยรวมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลาง และข้อมูลพื้นฐานที่สามารถแยกระดับคุณภาพชีวิตการใช้ยาด้านต่าง ๆ ได้ดี คือ การควบคุมโรคและอาการไม่พึงประสงค์จากยา

Quality of Life in Medication Use in Patients with Chronic Diseases at Phramongkutklao Hospital

Quality of life is one of the approaches to evaluate treatment outcomes of patients with chronic diseases. Nowadays many quality of life questionnaires have low sensitivity for measuring the outcomes of pharmaceutical therapy. Moreover, the specific questionnaires for measuring the outcomes of pharmaceutical therapy are not very well known. Therefore, studies about the quality of life in medication use are still limited. Objective: To assess the quality of life in medication use and the impact of patient characteristics on the Patient – Reported Outcome Measure of Pharmaceutical Therapy (PROMPT-QoL) in patient with chronic diseases Methods: This descriptive study enrolled 356 outpatients following up at Phramongkutklao hospital from June 2014 through March 2015. The patients have been taking prescribed medications for at least 3 months. The patients were interviewed by using the PROMPT-QoL questionnaires, which were estimated reliability by Cronbach's alpha. The coefficient of reliability of the whole questionnaires was 0.87. Results: 61.5 percent of patients with chronic diseases intended to receive conventional treatment. The mean scores of PROMPT-QoL in overall quality of life domain were 56.3±19.9. Female, younger than 50-year-old, higher education at least high school level, fewer than 5 itens of routine medications, good disease control and no adverse drug events were associated with higher PROMPT-QoL score. Conclusions: The patients in chronic diseases had moderate level of overall quality of life. An ability to influence disease control and adverse drug events were patient characteristics with affected the PROMPT-QoL in every domain.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)