ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลกองทัพบก
Main Article Content
Abstract
การได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการ (Laboratory Accreditation: LA)เป็นการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นหลักประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลกองทัพบก การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 195 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.883 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ชั้นยศ พ.ต. - พ.ท. ตำแหน่งเทคนิคการแพทย์ ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ผลการศึกษา ระดับความคิดเห็นของบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เกี่ยวกับกระบวนการคุณภาพและสภาพแวดล้อมองค์กรในการพัฒนาและรับรองมาตรฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ากระบวนการคุณภาพด้านเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ อยู่ในระดับสูงสุด ( = 3.647, S.D. = 0.778) รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ( = 3.584, S.D. = 0.765) สภาพแวดล้อมองค์กรด้านการรับรู้ข้อมูลคุณภาพ ( = 3.552, S.D. = 0.809) วัฒนธรรมในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ( = 3.380, S.D. = 0.797) และด้านการมีส่วนร่วม ( = 3.293, S.D. = 0.807) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ พบว่าปัจจัยกระบวนการคุณภาพด้านเครื่องมือ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการได้ร้อยละ 32(R2 = 0.320) ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมองค์กร ด้านการมีส่วนร่วม การรับรู้ระบบคุณภาพ และวัฒนธรรมองค์กร สามารถอธิบายความแปรปรวนของการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการได้ร้อยละ 62(R2 = 0.620) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Factors Affecting Medical Laboratory Accreditation in Royal Thai Army Hospitals
Laboratory Accreditation (LA) is a tool to assure laboratory quality development, the standard of laboratory should be complied with the Thailand Medical Technology Standard: 2012. The objectives of this study wereto study the factors affecting to medical laboratory Accreditation in Royal Thai Army Hospitals.The samples were consisted of 195executive and operations staff in medical laboratory of Royal Thai Army Hospitals. Data were collected by using questionnaires at the reliability Coefficients Alpha 0.883. Data were analyzed by the statistics consisted of frequency, percentages, mean, standard deviation. The hypothesis were tested by multiple regression analysis with the significant level at 0.05 This study revealed that most of the respondents were male, aged between 31-40 year old, education level of bachelor’s degree, rank Major – Lieutenant Colonel, position Medical Technologist, experience more than 10 years.The quality laboratory process and organizational environment overall was high level. When considered in details was found that the equipment in laboratory process was at the highest ( = 3.647, S.D. = 0.778), followed by the personnel in quality process( = 3.584, S.D. = 0.765), the perception in organizational environment ( = 3.552, S.D. = 0.809), organization quality culture in medical laboratory ( = 3.380, S.D. = 0.797) and the involvement in medical laboratory ( = 3.293, S.D. = 0.807), respectively. The factors affecting to medical laboratory Accreditation in Royal Thai Army Hospitals consisted of variables as the quality laboratory process variable could explain the variation of the accreditation in laboratory of Royal Thai Army Hospitals at 32.00 percent (R2 = 0.320) and organizational environment could explain the variation of the accreditation in laboratory of Royal Thai Army Hospitals at 62.00 percent (R2 = 0.620)