การวัดอัตราการไหลของน้ำหล่อสมองและไขสันหลังบริเวณท่อน้ำสมองซิลเวียส ด้วยเฟสคอน ทราสของเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในกลุ่มประชากรปกติ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

สุภัทธนาวดี ภู่ศรี
กิติมา ธรรมรักษ์
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

ความเป็นมา:  เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ (Magnetic resonance imaging : MRI)เป็นเครื่องมือการตรวจและสร้างภาพกายวิภาคของสมอง ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ต้องใช้สารทึบรังสี อีกทั้งเป็นการตรวจที่ไม่ลุกล้ำผู้ป่วย ไม่เจ็บปวด และสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดของน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid : CSF) รวมทั้งวัดอัตราการไหลได้ โดยใช้เฟสคอนทาสของเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุแสดงภาพการไหลเวียนตามจังหวะการเต้นของหัวใจ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาอัตราการไหลของน้ำหล่อสมองและไขสันหลังบริเวณท่อน้ำสมองซิลเวียสด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในกลุ่มประชากรที่ไม่มีประวัติหรืออาการผิดปกติของระบบประสาทเพื่อเป็นค่ามาตรฐาน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ในการตรวจอัตราการไหลของน้ำหล่อสมองและไขสันหลังด้วยใช้เฟสคอนทราสของเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุขนาดความเข้มของสนามแม่เหล็ก 1.5 เทสลา ในกลุ่มประชากรปกติจำนวน 38 คน มีอายุเฉลี่ย 44 ปี ณ แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2556 ถึง 1 พฤศจิกายน 2556 ในบริเวณท่อน้ำสมอง  ซิลเวียสโดยกำหนดจุดในการวัดอัตราการไหลคือ ตำแหน่ง intercollicular sulcus และแสดงภาพการไหลเวียนตามจังหวะการเต้นของหัวใจที่อ้างอิงจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวิเคราะห์เป็นค่าอัตราการไหลเฉลี่ย ค่าความเร็วเฉลี่ย ค่าความเร็วสูงสุด และค่าปริมาตรของน้ำหล่อสมองแต่ละครั้งที่หัวใจบีบตัว              ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าค่าอัตราการไหลเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.0030 ± 0.0018 มิลลิลิตรต่อวินาที ค่าความเร็วเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.0803 ± 0.0373 เซนติเมตรต่อวินาที ค่าความเร็วสูงสุดมีค่าเท่ากับ 4.35 ± 0.56 เซนติเมตรต่อวินาที และค่าปริมาตรของน้ำหล่อสมองแต่ละครั้งที่หัวใจบีบตัวเท่ากับ     61.55 ± 14.29 ไมโครลิตร ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างจากการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้และตุรกีสำหรับค่าอัตราการไหลเฉลี่ยที่มีค่าเท่ากับ 0.0200 ± 0.0125 มิลลิลิตรต่อวินาที และ 0.016 ± 0.007 มิลลิลิตรต่อวินาที ตามลำดับ แต่สำหรับค่าความเร็วสูงสุดมีค่าใกล้เคียงกัน สรุป: จากการศึกษาการตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำหล่อสมองและไขสันหลังบริเวณท่อน้ำสมองซิลเวียสด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในกลุ่มประชากรปกติ ทำให้ได้ค่าอัตราการไหลเฉลี่ย ค่าความเร็วเฉลี่ย ค่าความเร็วสูงสุด และค่าปริมาตรของน้ำหล่อสมองแต่ละครั้งที่หัวใจบีบตัวที่เป็นค่ามาตรฐานของโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

Measurement of cerebrospinal fluid flow at the cerebral aqueduct by use of phase contrast magnetic resonance imaging in the normal human brain at Phramongkutklao hospital.

Background: Magnetic resonance (MR) imaging depicts cerebral tissue without require contrast media in cerebral pathologies and gives detailed information of cerebrospinal fluid (CSF) with CSF flow. Phase-contrast magnetic can display this pulsatory CSF motion non-invasively. Objective: To study magnetic resonance (MR) imaging based quantitative phase contrast cerebrospinal fluid (CSF) velocity imaging in the normal population. Methodology: Descriptive study was conducted, using phase contrast magnetic resonance imaging in thirty-eight healthy volunteers (mean age 44 years) at Department of Radiology, Phramongkutklao hospital during September 1, 2013 – November 1, 2013. The CSF hydrodynamics investigated on 1.5 T MRI. Velocity maps were acquired perpendicular to the cerebral aqueduct at level of the intercollicular sulcus. The pulse sequence was a prospectively triggered cardiac-gated flow, region of interest (ROI) analysis was performed for the CSF hydrodynamics, include mean flow (ml/sec), mean systolic velocity (cm/sec), peak velocity (cm/sec) and stroke volume (mL). Results: The mean flow, mean systolic velocity, peak velocity and stroke volume are measured 0.0030±0.0018 ml/sec, 0.0803±0.0373 cm/sec, 4.35±0.56 cm/sec and 61.55±14.29mL, respectively. The peak velocity, not differ (Korea; 4.08±1.99 cm/sec and Turkey; 5.95±2.48 cm/sec) but mean flow is different from other foreign study (Korea; 0.0200±0.0125 ml/sec and Turkey; 0.016±0.007 ml/sec). Conclusion: Using phase-contrast MRI at aqueduct in healthy volunteers, reveals the mean flow, mean systolic velocity and stroke volume which are standard value of Phramongkutklao hospital.

Article Details

How to Cite
ภู่ศรี ส., ธรรมรักษ์ ก., & แสงเรืองอ่อน ศ. (2016). การวัดอัตราการไหลของน้ำหล่อสมองและไขสันหลังบริเวณท่อน้ำสมองซิลเวียส ด้วยเฟสคอน ทราสของเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในกลุ่มประชากรปกติ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. Royal Thai Army Medical Journal, 68(2), 71–77. retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/59613
Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)